สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เปรี ยบเที ยบเนื้ อหาและตั วละครในบทละครเรื่ องรามเกี ยรติ์ พระราชนิ พนธ์ของรั ชกาลที่ ๑ กั บมหากาพย์รามายณะของวาลมี กิ ฉบั บภาษาไทย 54 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 ๒.๓ ความงามของหน้าอก ฉบับไทยทศกัณฐ์ในร่างแปลงของดาบสชมอกของนางสีดา ดุจดอกบัวตูมว่า “พิศถันดั่งปทุมเกสร” (เล่ม ๑ : ๕๓๔) ใน รามายณะ ราวณะในร่างแปลงเป็นพราหมณ์ ชมนางสีดาว่า “ปทุมถันของเจ้างามเฉิดฉาย เต่งตึงดุจผลตาล” (อารัณยกัณฑ์ : ๓๑๑) และต่อมาชมว่า “ทรวงอกอวบอัด” (กัณฑ์เดิม, หน้าเดิม) ๓. กล่าวถึงรูปลักษณ์ของสิ่งที่ต่างกันโดยใช้ความเปรียบเหมือนกัน ดังนี้ ๓.๑ ตาหรือใบหูงามดังกลีบบัว ฉบับไทยตอนทศกัณฐ์แปลงเป็นดาบสชมนางสีดาว่า มีใบหูงามดังกลีบบัว คือ “พิศกรรณคล้ายกลีบบุษบง” (เล่ม ๑ : ๕๓๔) ส่วนใน รามายณะ ราวณะ ซึ่งแปลงเป็นพราหมณ์ชมนางสีดาว่า “มีเนตรดุจกลีบบัว” (อารัณยกัณฑ์ : ๓๑๗) คือดวงตามีลักษณะ ยาวรีดุจกลีบของดอกบัว ๓.๒ ขาหรือแขนงามดังงวงช้าง ฉบับไทย ทศกัณฐ์ซึ่งแปลงเป็นดาบสชราชมแขนของ นางสีดาว่า “พิศกรดั่งงวงคชาพงศ์” (เล่ม ๑ : ๕๓๔) ใน รามายณะ ราวณะซึ่งแปลงเป็นพราหมณ์ชมขา ของนางสีดาว่า “อูรุทั้งคู่เรียบเนียนเสมอกันประดุจงวงช้าง” (อารัณยกัณฑ์ : ๓๑๗) และตอนนางสีดา คิดฆ่าตัวตาย กวีชมขาของนางว่า “...อวบอิ่มราวกับงวงคชสารและเบียดชิดกัน...” (สุนทรกัณฑ์ : ๕๐๙) มีข้อสังเกตว่าในฉบับไทยแม้ชมความงามของกวางก็ชมคล้ายชมคน เช่น ชมว่า “ สองตา ดั่งดวงมณีนิล” และ “สองหูดั่งกลีบบุษบัน” (เล่ม ๑ : ๕๒๕) อนึ่ง การชมความงามของตัวละครทั้งใน ฉบับไทยและ รามายณะ มีที่ชมตามขนบวรรณคดีของแต่ละชาติอยู่มาก ภาพที่กวีพรรณนาจึงไม่ใช่ รูปลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมจริงของตัวละคร แต่เป็นเพียงภาพในอุดมคติเท่านั้น เช่น ชมหน้างามดังดวงจันทร์ คิ้วงามดังคันศร หูงามดังกลีบบัว ฟันด� ำงามดังนิล ด้านความสัมพันธ์ของตัวละคร ต่างกันดังนี้ ความสัมพันธ์ ของตัวละคร บทละครเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๑ รามายณะ สีดา-ทศกัณฐ์ สีดาเป็นธิดาของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ ไม่มีความสัมพันธ์กัน ตรีเศียร-นางส� ำมนักขา/ ตริศิรัส-ศูรปนขา ตรีเศียรเป็นพี่ของนางส� ำมนักขา ตริศิรัสไม่ได้เป็นพี่ของนางศูรปนขา เป็นเพียงจอมทัพของขระผู้เป็นพี่ ของนางศูรปนขา มารีศ-ทศกัณฐ์/มารีจะ-ราวณะ มารีศเป็นน้าของทศกัณฐ์ มารีจะเป็นเพื่อนของราวณะ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=