สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ชลดา เรื องรั กษ์ลิ ขิ ต 53 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ เมื่อพิจารณารูปลักษณ์ของตัวละครกับการใช้ความเปรียบ ผู้เขียนพบรายละเอียด ดังนี้ ๑. กล่าวถึงรูปลักษณ์ของสิ่งเดียวกันโดยใช้ความเปรียบที่เหมือนกัน ดังนี้ ๑.๑ ผิวงามดังทอง ฉบับไทยตอนทศกัณฐ์แปลงเป็นดาบสเพื่อลักนางสีดา ได้ชมผิวนาง โดยเปรียบกับทองว่า “พิศผิวผิวผ่องดังทองทา” (เล่ม ๑ : ๕๓๔) ใน รามายณะ กวีชมนางสีดาว่า มีผิวงามดังทองค� ำเงาวาว ตอนนางขอให้พระรามตามจับกวาง ๑.๒ ใบหน้างามดังดวงจันทร์ ฉบับไทยทศกัณฐ์ซึ่งแปลงเป็นดาบสชมใบหน้างามผุดผ่อง ของนางสีดาว่า “พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดั่งจันทร” (เล่ม ๑ : ๕๓๔) ใน รามายณะ ตอนราวณะแปลงกาย เป็นพราหมณ์แล้วเข้าไปหานางสีดาที่อาศรมขณะนางก� ำลังคร�่ ำครวญเพราะห่วงใยพระรามเนื่องจาก ได้ ยินพระรามเรียกให้พระลักษมณะช่ วย ราวณะชมนางว่ า “ดวงพักตร์ ประดุจจันทร์ เพ็ญ” (อารัณยกัณฑ์ : ๓๑๖) ๑.๓ ตางามดังตากวาง ฉบับไทยและรามายณะใช้ความเปรียบ เมื่อพระรามเข้าหานางสีดา หลังอภิเษกแล้ว ชมความงามของตานางว่า “งามเนตรดั่งเนตรมฤคา” (เล่ม ๑ : ๓๑๗) ใน รามายณะ นางรากษสีกราบทูลราวณะว่าเห็นวานรพูดกับนางสีดาในสวน และนางเฝ้าถามนางสีดาหลายครั้ง เกี่ยวกับวานรตัวนี้แต่นางไม่ยอมตอบ นางรากษสีกล่ าวว่ า “นางสีดาชานกีผู้มีนัยน์ตากวาง” (สุนทรกัณฑ์ : ๕๓๕) ๒. กล่าวถึงรูปลักษณ์ของสิ่งเดียวกันโดยใช้ความเปรียบต่างกัน ดังนี้ ๒.๑ ความงามของดวงตา ฉบับไทยทศกัณฐ์ ในร่างแปลงของดาบสชมตาของสีดา โดยเปรียบกับตากวางว่า “พิศเนตรดั่งเนตรมฤคิน” (เล่ม ๑ : ๕๓๔) ส่วนในรามายณะราวณะในร่าง แปลงเป็นพราหมณ์ชมดวงตาด� ำงามของนางสีดาว่า “เนตรนั้นกลมโต หมดมลทิน เหมือนดวงดาวสีด� ำ ประดับด้วยขอบแดง” (อารัณยกัณฑ์: ๓๑๗) คือเปรียบตากับดาวและสะท้อนวัฒนธรรมการใช้สีแดง เขียนขอบตา ๒.๒ ความงามของฟัน ฉบับไทยทศกัณฐ์ในร่างดาบสชมนางสีดาว่าฟันด� ำดังนิลและ เรียบงดงาม ดังนี้ “พิศทันต์ดั่งนิลอันเรียบราย” (เล่ม ๑ : ๕๓๔) ซึ่งเป็นการชมตามวัฒนธรรมที่นิยม กินหมากในสังคมไทยโบราณ ส่วน รามายณะ ตอนนางสีดาเห็นศุภนิมิต กวีเปรียบฟันขาวของนางสีดาว่า “ฟันเหมือนปลายดอกมะลิตูม” (สุนทรกัณฑ์ : ๕๐๙) แสดงว่าปลายฟันเรียวเล็กลงมาและมีสีขาว

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=