สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ชลดา เรื องรั กษ์ลิ ขิ ต 33 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ รามายณะ ชายาถูกต้องตามธรรมเนียมของพระรามคือเจ้าหญิงแคว้นวิเทหะนามว่าสีดา ผู้มีเนตรกลมโต ผู้ทรงยศอรชร อ้อนแอ้น นารีเช่นนี้ไม่ใช่เทวี นางคนธรรพ์ ยักษี และกินรีที่ข้าเคยเห็นบนแผ่นดิน คนที่ได้เป็นเจ้าของสีดา ได้กอดนางผู้เบิกบานแล้วจะเป็นสุขในโลกทั้งปวงเหนือกว่าพระอินทร์ นางมีศีลาจารวัตรเรียบร้อย เป็นที่สรรเสริญด้วยความงาม นารีในโลกไม่งามเสมอเหมือน นางคู่ควรเป็นชายาของท่าน พี่ควรเป็น ภัสดาของนาง นางมีสะโพกกลมกลึง มีปทุมถันอวบอัด ข้าพยายามจะน� ำนางผู้งามพักตรามาเป็น ชายาของท่าน พอได้เห็นนางสีดาไวเทหิผู้มีพักตร์งามดั่งจันทร์เพ็ญแล้วท่านก็จะพ่ายแพ้ต่อศรพระกาม หากท่านปรารถนาจะได้นางเป็นชายาจงรีบก้าวเท้าขวาออกไปเพื่อชัยชนะเถิด (อารัณยกัณฑ์ : ๓๐๐) บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เมื่อนั้น น้องท้าวผู้มีอัชฌาสัย ทูลว่าอันหญิงทั้งแดนไตร ถึงจะงามก็ไม่พร้อมเพรา ซึ่งจะเอาพี่นางมณโฑเปรียบ เทียมเทียบไกลกันสักพันเท่า เปรียบขนงแพ้ขนงนงเยาว์ เปรียบทรงศอเล่าก็ไกลกัน เปรียบปรางสีดาก็น่าชม เปรียบเนตรเนตรคมคมสัน เปรียบพักตร์ผ่องแผ้วดั่งดวงจันทร์ เปรียบถันดั่งปทุมละอองนวล เปรียบนาสานางงามแฉล้ม เปรียบโอษฐ์เห็นแย้มเป็นที่สรวล เปรียบทรงแพ้ทรงโดยกระบวน เปรียบนวลแพ้นวลนางสีดา เปรียบทั้งมารยาทก็แพ้ด้วย ทรวดสวยเป็นที่เสน่หา เลิศลักษณ์ทรงเบญจกัลยา ทั้งโลกาจะเปรียบก็ไม่มี (เล่ม ๑ : ๕๑๕) เมื่อทศกัณฐ์ถามว่าหากเปรียบนางสีดากับพระอุมา พระลักษมีและพระสุรัสวดีจะเป็นเช่นไร นางก็ตอบว่า “...ดีกว่าทั้งสามองค์” (เล่มเดิม, หน้าเดิม) และ “จะจัดงามสามนางประมวลเข้า ไม่เทียมเท่า สีดานวลหง” (เล่มเดิม, หน้าเดิม) รายละเอียดดังกล่าวไม่มีในรามายณะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=