สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เปรี ยบเที ยบเนื้ อหาและตั วละครในบทละครเรื่ องรามเกี ยรติ์ พระราชนิ พนธ์ของรั ชกาลที่ ๑ กั บมหากาพย์รามายณะของวาลมี กิ ฉบั บภาษาไทย 28 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 ความแตกต่างด้านตัวละคร ๑. ก� ำเนิดนางสีดา ฉบับไทยนางสีดาเป็นธิดาของทศกัณฐ์กับนางมณโฑซึ่งกินข้าวทิพย์ส่วนหนึ่ง เมื่อนางสีดาเกิดนางร้องว่าผลาญราพณ์ พิเภกแนะน� ำให้น� ำนางใส่ผอบไปทิ้งทะเล ด้วยบุญญาธิการ ของนางสีดาเกิดมีดอกบัวรองรับผอบ ท้าวชนกเก็บผอบได้น� ำไปเลี้ยง ต่อมาฝังดินไว้เพื่อมิให้เป็นอุปสรรค แก่การบ� ำเพ็ญตบะ เมื่อยุติการบ� ำเพ็ญตบะท้าวชนกให้ขุดผอบและน� ำนางไปเลี้ยงเป็นธิดาบุญธรรม ในนครมิถิลาโดยทศกัณฐ์และนางมณโฑไม่ทราบว่านางสีดาเป็นธิดาของตน ส่วนในรามายณะนางสีดา เกิดจากดิน ท้าวชนกพบนางขณะไถนาในพระราชพิธีแรกนาขวัญ (พาลกัณฑ์ : ๘๗) ๒. ความงามของพระรามและพระลักษณ์ ท้าวชนกชมความงามของพระรามและพระลักษณ์ ในทั้ง ๒ ส� ำนวน ชมว่าทั้งสองมีรูปลักษณ์คล้ายกันแต่ใช้ความเปรียบต่างกัน ฉบับไทยกวีชมว่าทั้งสองงาม เหมือนแก้วมณีที่มีรัศมีเรืองรองคล้ายกัน แล้วชมว่าพระรามงามดังเทวดาและคู่ควรกับนางสีดา ท� ำให้เห็นว่า ฉบับไทยให้ความส� ำคัญแก่พระรามมากกว่าพระลักษณ์ แต่ในรามายณะท้าวชนกชมว่าพระรามพระลักษมณะ เหมือนกันมาก ทรงพลังดังเทวดา ดูเหมือนเสือหรือวัว มีท่าเดินสง่างามราวกับสิงโตหรือช้างสาร งามดังเทวดา และเป็นคู่แข่งของพระอัศวินซึ่งเป็นเทวดาแฝดผู้มีรูปลักษณ์งดงามยิ่ง และยังชมดวงตาของทั้งสองว่า มีดวงตายาวงามดังกลีบบัว สะท้อนให้เห็นว่ากวีให้ความส� ำคัญแก่พระลักษมณะเท่ากับพระราม ดังนี้ รามายณะ เจ้าชายผู้กล้าทั้งสองดูทรงพลังดังเทวดา ดูเหมือนเสือหรือพฤษภ และด� ำเนินราวกับสิงโต หรือช้างสาร ถือดาบ กระบอกธนูและธนู ดวงตายาวดังกลีบบัว ก� ำลังอยู่ในวัยหนุ่มเต็มที่ ทั้งสองดูดังคู่แข่ง ของพระอัศวิน ด้วยความงาม ทั้งสองเหมือนเทวดาที่จากสวรรค์ลงมายังโลกโดยบังเอิญ ... ทั้งสองเหมือนกัน ทั้งรูปร่าง ท่าทาง และการเคลื่อนไหว (พาลกัณฑ์ : ๗๐) บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เมื่อนั้น ท้าวชนกจักรวรรดินาถา ได้ฟังพระมหาสิทธา ผ่านฟ้าตะลึงทั้งอินทรีย์ นิ่งนึกตรึกไปเป็นครู่ แล้วพิศดูพี่น้องสองศรี งามดั่งดวงแก้วมณี รัศมีพรรณรายคล้ายกัน อันเชษฐาซึ่งชื่อว่าราเมศ งามดั่งเทเวศร์ในสรวงสวรรค์ แม้นคู่กับสีดาวิลาวัณย์ ดั่งพระจันทร์เคียงดวงสุริยา (เล่ม ๑ : ๒๙๘)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=