สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เปรี ยบเที ยบเนื้ อหาและตั วละครในบทละครเรื่ องรามเกี ยรติ์ พระราชนิ พนธ์ของรั ชกาลที่ ๑ กั บมหากาพย์รามายณะของวาลมี กิ ฉบั บภาษาไทย 24 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 และพระลบประลองศร พระรามรบกับพระมงกุฎ) หนุมานนาฏกะ (เช่น ตอนนางลอย จองถนน หอกโมกขศักดิ์ และหนุมานถวายตัวแด่ทศกัณฐ์) วิษณุปุราณะและลิงคปุราณะ (เช่น ก� ำเนิดของตัวละคร) รวมทั้ง เรื่องที่กวีไทยแต่งเติมขึ้น (เช่น หนุมานลองดีกับพระฤษีนารท หนุมานวิวาทกับนิลพัท ฝ่ายทศกัณฐ์ พยายามฆ่าหนุมานด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามแบบของไทย เช่น ใส่ครกต� ำ ไสช้างแทง ใช้อาวุธต่าง ๆ ฟัน หรือแทง) (เล่ม ๑, ๒๕๔๐ : “ค� ำน� ำ”) ทั้งยังน� ำเรื่องนางค่อมที่ยุนางไกยเกษีมาจาก รามายณะ ฉบับทมิฬ ของกัมพันด้วย (มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์, ๒๕๕๘ : ๒๓) ๒. มหากาพย์รามายณะของวาลมีกิฉบับภาษาไทย ในค� ำน� ำของหนังสือ (เล่ม ๑, ๒๕๕๗ : จ) กล่าวว่า “รามายณะของฤษีวาลมีกิเป็นมหากาพย์ส� ำคัญของอินเดียที่ได้รับการยกย่องและเป็นที่รู้จัก อย่างแพร่หลาย...แต่งเป็นกวีนิพนธ์ด้วยค� ำประพันธ์ประเภทโศลกและมีฉันท์บางประเภท เช่น อุปชาติ แทรกบ้าง เดิมเป็นวรรณคดีมุขปาฐะส� ำหรับขับล� ำในโอกาสต่าง ๆ” ทั้งยังอธิบายเพิ่มเติมว่ารามายณะ ของวาลมีกินี้มีหลายส� ำนวน มีทั้งอินเดียเหนือและอินเดียใต้ แต่ละส� ำนวนมีจ� ำนวนโศลกไม่เท่ากัน เท่าที่มีมากที่สุด คือ ๒๔,๐๐๐ โศลก ทั้งถ้อยค� ำที่ใช้ก็ต่างกัน สถาบันบูรพคดีศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยบาโรดา ประเทศอินเดีย ได้ช� ำระเรื่องรามายณะของฤษีวาลมีกิทั้งจากฉบับตัวเขียนและฉบับที่พิมพ์เผยแพร่ หลากหลายฉบับแล้วตีพิมพ์ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๖๐-๑๙๗๕ (พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๑๘-ผู้เขียน) ฉบับนี้ได้รับการ ยอมรับว่าถูกต้อง มีเอกภาพและใกล้เคียงกับฉบับดั้งเดิมของฤษีวาลมีกิมากที่สุด เรียกว่า ฉบับบาโรดา (Baroda) มีโศลกทั้งสิ้นรวม ๑๘,๗๕๕ โศลก และ ๖๐๖ สรรค (เรื่องเดิม : ฉ) มหากาพย์รามายณะ ของวาลมีกิฉบับภาษาไทย แปลจากฉบับบาโรดา โดย “แปลเก็บศัพท์ทุกค� ำและแปลเพื่อให้อ่านเข้าใจได้ง่าย เมื่อพบศัพท์ที่มีความหมายไม่เข้ากับบริบทก็จะพิจารณาเปรียบเทียบกับต้นฉบับรามายณะอื่น และเลือก ใช้ศัพท์ที่สอดคล้องกับบริบท” (เรื่องเดิม, หน้าเดิม) ๓. มหากาพย์รามายณะของวาลมีกิฉบับภาษาไทย ๑ ชุดมี ๓ เล่ม แบ่งเนื้อหาเป็นกัณฑ์ และสรรคตามต้นฉบับ มีภาพวาดประกอบ มีภูมิหลังของเรื่อง ดังนี้ ๓.๑ ผู้แปลและปีที่แปลรวมทั้งผู้วาดภาพประกอบ ผู้แปล มหากาพย์รามายณะของวาลมีกิ ฉบับภาษาไทย เป็นคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภาษาสันสกฤตของมหาวิทยาลัยศิลปากรและศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยศิลปากรซึ่งเคยศึกษาภาษาสันสกฤตและปัจจุบันเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือธรรมศาสตร์ ผู้แปลมี ๔ คนได้แก่ กุสุมา รักษมณี, มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์, สยาม ภัทรานุประวัติ และนาวิน วรรณเวช ผู้วาดภาพคือศิลปิน ๗ คน ได้แก่ เนติกร ชินโย, วิรัญญา ดวงรัตน์, จินตนา เปี่ยมศิริ, อนุพงษ์ จันทร, ปรีชา เถาทอง, ปัญญา วิจินธนสาร และธีระวัฒน์ คะนะมะ พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๗ (เรื่องเดิม : ฉ, ช, ส, ห, ฬ, อ, ฮ, ก๑, ก๒, ก๓, ก๔, ก๕, ก๖, ก๗, ก๘, ก๙)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=