สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ชลดา เรื องรั กษ์ลิ ขิ ต 23 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ เรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑, ๒๕๔๐, เล่ม ๑ : ๒) ๑ กวีเริ่มแต่งเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๒ ค�่ ำ เดือนอ้าย จุลศักราช ๑๑๕๙ ซึ่งตรงกับพุทธศักราช ๒๓๔๐ ดังปรากฏในโคลงบทสุดท้ายซึ่งอยู่ท้ายเรื่อง (เล่ม ๔ : ๕๘๓) ส่วนใช้เวลาแต่งนานเท่าใด ไม่ได้ระบุไว้ ๑.๒ วัตถุประสงค์ในการแต่ง ในโคลงบทแรกซึ่งอยู่ท้ายเรื่องระบุว่าจบเรื่องพระราม ซึ่งกวาดล้างวงศ์ยักษ์ (คือทศกัณฐ์) ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้แต่งขึ้นเพื่อ “สมโภช พระนา” (เล่ม ๔ : ๕๘๓) สอดคล้องกับความในร่ายต้นเรื่องว่า “ประโยชน์ ฉลองเฉลิมเจิมจุฑาทิพย์ประสาท” โดยผู้เขียนสันนิษฐานว่าน่าจะแต่งขึ้นในโอกาสฉลองพระมณฑป วัดพระศรีรัตนศาสดารามซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้สร้างแทนหอพระมนเทียรธรรมที่ถูกไฟไหม้เมื่อพุทธศักราช ๒๓๓๑ ซึ่งฉลองพร้อมสมโภชพระนครเมื่อพุทธศักราช ๒๓๕๒ [เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ข� ำ บุนนาค)] เรียบเรียง, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑, ๒๕๓๑ : ๑๐๗) ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ใน การพระราชนิพนธ์เพื่อให้เป็นต้นฉบับส� ำหรับพระนครและใช้ “อ่านร้องร� ำเกษม” (เล่ม ๔ : ๕๘๓) เท่านั้น ๑.๓ รูปแบบค� ำประพันธ์ เป็นกลอนบทละคร มีร่ายสุภาพน� ำในตอนต้น ๑ บท ๑.๔ เนื้อหา เป็นเรื่องชีวิตของพระรามซึ่งเป็นพระนารายณ์อวตารมาปราบทศกัณฐ์ ผู้เป็นยักษ์พาลตามค� ำท้าทายในอดีตชาติ ท� ำให้ทศกัณฐ์สูญเสียโอรส ญาติพี่น้องและชีวิตของตนเอง (สาเหตุของสงครามเกิดจากทศกัณฐ์ลักสีดา) แม้ทศกัณฐ์สิ้นชีวิตแล้วก็ยังมีโอรสและญาติท� ำสงคราม กับพระรามเพื่อแก้แค้นให้ทศกัณฐ์อีก เนื้อหาเหล่านี้ต่อเนื่องกันไปตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่แบ่งเป็นกัณฑ์ ตอนหรือบท อย่างไรก็ตาม อาจแบ่งเนื้อหาได้เป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกเป็นเรื่องพระนารายณ์อวตารเป็นพระราม เพื่อปราบทศกัณฐ์ มีพระลักษมี บัลลังก์นาค และอาวุธของพระนารายณ์ลงไปเกิดในโลกมนุษย์ด้วย ๒ ทั้งยังมีเทพยดาทั้งหลายเกิดเป็นวานรเพื่อเป็นก� ำลังของพระรามในการปราบทศกัณฐ์ เนื้อหาส่วนหลัง เป็นเรื่องพลัดพรากระหว่างพระรามกับนางสีดาเป็นครั้งที่ ๒ รวมทั้งการแผ่พระเดชานุภาพของพระราม เป็นส� ำคัญ โดยมีเรื่องปราบยักษ์ผู้เป็นเชื้อสายของทศกัณฐ์และยักษ์ซึ่งเป็นสหายของทศกัณฐ์ด้วย แล้วจบเรื่องโดยให้พระรามปกครองบ้านเมืองอย่างเป็นสุขตลอดไตรดายุค ทั้งนี้ มีที่มาของเนื้อหาจาก เรื่องรามายณะของฤษีวาลมีกิ แต่น� ำมาดัดแปลงและน� ำเรื่องรามายณะฉบับอื่นมาผสมผสานด้วย เช่น เรื่องรามายณะฉบับทมิฬและเบงคลีของอินเดียใต้ (เช่น เรื่องนางมณีเมขลาและรามสูร เทพบริวาร ของพระนารายณ์ที่เกิดเป็นพระพรต พระลักษณ์และพระสัตรุด พระรามสบตากับนางสีดา พระมงกุฎ ๑ ต่อไปจะขออ้างอิงโดยเรียกว่า รามเกียรติ์ฉบับไทยหรือฉบับไทยโดยระบุล� ำดับเล่มและเลขหน้า ๒ พระลักษมีเกิดเป็นนางสีดาผู้เป็นบุตรีของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ บัลลังก์นาคและสังข์เกิดเป็นพระลักษณ์ จักรเกิดเป็นพระพรต และ คทาเกิดเป็นพระสัตรุด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=