สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การต่อตั วในนาฏกรรมไทย 18 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 – ลิงขึ้นลอยรบหมู่ รวมตัวโขน ๕ ตัว ได้แก่ หนุมาน และยักษ์ ๔ ตัว หนุมานขึ้นลอย ในกระบวนท่ารบกับยักษ์ ๔ ตัว ฝ่ายยักษ์จะเข้ามาล้อมวง โดยใช้เข่าซ้ายยันเข้าหากัน มือซ้ายตั้งวงล่าง มือขวาที่ถืออาวุธเหยียบแขนตึงหงายแขน หนุมานจะขึ้นไปยืนบนหน้าขายักษ์สองตัว ตัวใดก็ได้ แล้ว ใช้อาวุธแทงยักษ์จนตาย ฝ่ายยักษ์อาจจะเป็นสิบขุนสิบรถ หรือเสนายักษ์ก็ได้ – ลิงขึ้นลอยรบหมู่พิเศษ รวมตัวโขน ๔ ตัว ได้แก่ หนุมาน องคต นิลนนท์ และทัพนาสูร หนุมานตีลังกาหกฉีก ทัพนาสูรรับ นิลนนท์กระโดดขึ้นลอยหลังพิเศษ โดยใช้เท้าขวาเหยียบที่ต้นขาขวา ทัพนาสูร เท้าซ้ายเหยียบที่บ่าซ้ายทัพนาสูร มือป้องอาวุธ ส่วนองคตใช้มือซ้ายจับต้นแขนขวาทัพนาสูร มือขวาท� ำท่าเงื้อ นับว่าเป็นการขึ้นลอยที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในระยะหลัง การขึ้นลอยเพื่อการแสดงพลัง การขึ้นลอยเพื่อการแสดงพลังในนาฏกรรมการแสดงโขน ละคร ปรากฏในการแสดงดังนี้ – ลิงขึ้นลอยหนึ่ง ลิงขึ้นลอยโดยใช้เท้าซ้ายเหยียบที่ต้นขายักษ์ เท้าขวายกติดหนีบน่อง หันหน้าเข้าหากัน เป็นกระบวนท่าในระบ� ำวีรชัยลิง เพื่อแสดงความเข้มแข็ง ความว่องไวของไพร่พลลิง – ลิงขึ้นลอยมัจฉานุ ลิง ก ขึ้นลอยโดยใช้เท้าไขว้อ้อมหลังลิง ข ปลายเท้าเกี่ยวกับหน้าขา ขวาของลิง ข แล้วกระโดดตัวขึ้นให้เท้าขวาเหยียบที่หน้าขาซ้ายของลิง ข ฝ่ายลิง ข จะใช้มือซ้ายโอบมา ช่วยพยุงตัวลิง ก ไว้ เป็นกระบวนท่าในระบ� ำวีรชัยลิง เพื่อแสดงความเข้มแข็ง ความว่องไวของไพร่พลลิง – ยักษ์ขึ้นลอยหลัง ยักษ์ ก ขึ้นลอยโดยใช้เท้าทั้งสองเหยียบที่ต้นขาของยักษ์ ข หันหน้า ไปทางเดียวกัน เป็นกระบวนท่าในระบ� ำวีรชัยยักษ์ เพื่อแสดงความเข้มแข็งและความพร้อมเพรียง ของไพร่พลยักษ์ การขึ้นลอยนอกจากปรากฏในการแสดงโขน ละครแล้ว ยังปรากฏในการแสดงระบ� ำ ร� ำ ฟ้อน อื่น ๆ อีกมาก เช่น ระบ� ำสี่ภาค ร� ำโนรา ร� ำกลองยาว ฟ้อนม่านมุยเชียงตา และการต่อสู้ด้วยพลอง ไม้สั้น ข้อคิดเห็น การขึ้นลอยเป็นการแสดงที่ใช้ความสามารถเฉพาะตัว ต้องได้รับการฝึกฝนทั้งผู้ขึ้นและผู้รับ มาเป็นอย่างดี มิเช่นนั้นอาจได้รับอุบัติเหตุถึงกับกระดูกเท้าแตกได้ โดยเฉพาะในการแสดงโขน ผู้แสดงจะต้องแต่งเครื่องโขนที่มีน�้ ำหนักมากถึง ๕ กิโลกรัม ต้องสวมหัวโขน และต้องแสดงให้ตรง ตามจังหวะเพลง กระบวนท่าขึ้นลอยเมื่อถูกก� ำหนดด้วยน�้ ำหนักตัวผู้แสดง รวมกับน�้ ำหนักเครื่องโขน การสวมหัวโขน และจังหวะเพลง อาจเป็นอุปสรรคต่อการแสดง แต่หากได้รับการฝึกฝนจนเกิด ความคล่องตัว มีพละก� ำลังที่แข็งแรง สามารถแสดงกระบวนท่าตามจังหวะรุก-รับ เข้า-ออก ได้ดีจนเกิด ความช� ำนาญก็จะไม่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=