สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

การต่อตั วในนาฏกรรมไทย 14 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 ๓. การแสดงละครเรื่องโกมินทร์ โกเมศขึ้นลอยหลัง โกเมศขึ้นลอยโดยใช้เท้าทั้งสองเหยียบที่ต้นขาของม้า หันหน้าไป ทางเดียวกันเพื่อเดินทาง เนื้อเรื่องย่อมีดังนี้ ท้าวโกสุธรรมเป็นเจ้าเมืองปกครองดูแลไพร่ฟ้าสงบสุข ต่อมา ต้องตกอยู่ภายใต้อ� ำนาจของพญานาคที่ชื่อว่า กะโตหน จึงพลอยให้อาณาประชาราษฎร์ถูกกดขี่ข่มเหง เหตุนี้ เทพเจ้าเบื้องบนจึงส่งผู้ปราบเพื่อพิทักษ์ยุติธรรมลงมาเกิดเป็นโอรสท้าวโกสุธรรม มีพระนามว่า “โกมินทร์” ซึ่งมีผ้าแพรสีแดงผูกผมจุกกับก� ำไลหยกใส่ข้อมือขวา อันเป็นของวิเศษติดกายมาแต่ก� ำเนิด จึงท� ำให้ โกมินทร์เป็นเด็กกล้าหาญ ไม่เกรงกลัวต่อผู้ใด โกมินทร์มีพี่ชาย ๒ องค์ คือ โกเมศและโกมล ทั้งสาม รักใคร่กันดี ไปไหนไปด้วยกัน ได้ร�่ ำเรียนวิชากับพระฤๅษีจนเก่งกล้า พระฤๅษีเสกพาหนะคู่ใจให้ ๓ พระองค์ โกเมศและโกมล พระฤๅษีเสกม้าให้เป็นพาหนะ ส่วนโกมินทร์ เสกเสือโคร่งให้เป็นพาหนะ ทั้ง ๓ พระองค์ ขึ้นขี่พาหนะไปยังที่ต่าง ๆ การขึ้นลอยเพื่อการต่อสู้ การขึ้นลอยเพื่อการต่อสู้ในนาฏกรรมการแสดงโขน ละคร มี ๒ รูปแบบ คือ การขึ้นลอยแบบ ตัวต่อตัวและการขึ้นลอยแบบหมู่ ปรากฏในการแสดงดังนี้ ๑. การขึ้นลอยเพื่อการต่อสู้แบบตัวต่อตัว การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ – พระขึ้นลอยหนึ่ง พระขึ้นลอยโดยใช้เท้าซ้ายเหยียบที่ต้นขายักษ์ เท้าขวายกติด หนีบน่อง หันหน้าเข้าหากัน ในการต่อสู้ โขนตัวพระจะเป็นฝ่ายขึ้นลอยโขนตัวยักษ์เสมอ กระบวนท่ารบลอยหนึ่ง โขนตัวพระทุกตัวสามารถใช้ได้ เช่น พระอรชุนรบรามสูร พระรามรบทศกัณฐ์ พระลักษมณ์รบอินทรชิต พระพรตรบสุริยาภพ พระสัตรุดรบบรรลัยจักร – พระขึ้นลอยสอง พระขึ้นลอยโดยใช้เท้าขวาเหยียบที่ต้นขายักษ์ เท้าซ้ายเหยียบที่บ่า ยักษ์ หันหน้าเข้าหากัน พระทุกตัวสามารถปฏิบัติกับยักษ์ตัวใดก็ได้ตามเนื้อเรื่อง – พระขึ้นลอยสาม พระขึ้นลอยโดยใช้เท้าซ้ายเหยียบที่ต้นขายักษ์ เท้าขวายกติดหนีบน่อง หันหน้าเข้าหากัน จากนั้นตัวพระหันหมุนตัวไปทางขวา ใช้เท้าขวามาเกี่ยวที่ต้นแขนยักษ์ ซึ่งในขณะนั้น ตัวยักษ์ก็จะต้องส่งแขนช่วยรับด้วย ตัวพระหันตัวกลับเป็นหน้าเดียวกัน การแสดงขึ้นลอยหนึ่ง สอง สาม มีจารีตก� ำหนดหากออกรบพร้อมกันระหว่างพี่กับน้อง พระพี่จะรบขึ้นลอยด้วยท่าหนึ่งและสาม พระน้องจะรบขึ้นลอยท่าสองท่าเดียว ในการแสดงโขนปรากฏ มีกระบวนท่ารบพระพี่น้องอยู่ ๓ คู่ คือ พระรามคู่กับพระลักษมณ์ พระพรตคู่กับพระสัตรุด และพระมงกุฎ คู่กับพระลบ แต่หากออกรบเพียงคนเดียวก็สามารถใช้ท่าขึ้นลอยได้ทั้ง ๓ ท่า

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=