สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การต่อตั วในนาฏกรรมไทย 12 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 ๕. ในการแสดง น�้ ำหนักของเครื่องแต่งกายตลอดจนการสวมศีรษะจะเป็นอุปสรรคที่ต้อง ระมัดระวัง ๖. หากแสดงที่สนามหญ้ายิ่งต้องใช้ความระมัดระวังสูง หากสนามชื้น สนามมีหลุม จะทรงตัว ไม่ค่อยอยู่ ๗. หากแสดงบนเวที โรงโขนหน้าจอ ต้องระวังพื้นกระดานที่อาจไม่เสมอกัน ๘. แสงไฟ เวที และเหงื่อเป็นอุปสรรคที่ควรระวัง ๙. ในการแสดง เมื่อตัวพระขึ้นลอยแล้ว ตัวยักษ์ที่มีประสบการณ์จะหมุน ๑-๓ รอบเป็นการลองเชิง การขึ้นลอยเพื่อการเดินทาง การขึ้นลอยเพื่อการเดินทางในนาฏกรรมการแสดงโขน ละคร ปรากฏในการแสดงดังนี้ ๑. การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ – พระนารายณ์ทรงสุบรรณ ขึ้นลอยหลังพิเศษ พระนารายณ์ขึ้นลอยโดยใช้เท้าขวา เหยียบที่ต้นขาพญาสุบรรณ เท้าซ้ายเหยียบบ่า หันหน้าไปทางเดียวกัน พญาสุบรรณหรือพญาครุฑ เป็นพาหนะทรงของพระนารายณ์ เมื่อจะเสด็จไปที่ใดก็จะทรงพญาสุบรรณเสด็จไปยังที่หมาย – พระรามทรงหนุมาน พระลักษมณ์ทรงองคต ขึ้นลอยหลังพิเศษ ปฏิบัติเหมือนกัน ทั้งพระรามและพระลักษมณ์ พระขึ้นลอยโดยใช้เท้าขวาเหยียบที่ต้นขาลิง เท้าซ้ายเหยียบบ่า หันหน้า ไปทางเดียวกัน พญาวานรหนุมานและองคตทหารแห่งกองทัพพระรามน� ำพระรามพระลักษมณ์ขึ้นบ่า เหาะ ข้ามสมุทรไปยังกรุงลงกา ดังปรากฏในบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า - ปี่พาทย์ท� ำเพลงรุกร้น - - พากย์ - งามองค์ทรงครุฑ เจ้าอยุธยาภา ทรงรัตนวรา ภรณิศร์พิสิฐสรรค์ ทรงบ่าวายุบุตร ฤทธิรุทร์ดังไฟกัลป์ ลอยล่องเหนือฟองอรร- ณพ ลิวเหมือนทิวลม งามองค์พระลักษมัณ ผู้มหันต์มโหดม ศักดิ์เลิศประเสริฐสม วรเกียรติพระจักริน ทรงพาหะองคต กปิยศโยธิน พาข้ามกระแสสิน ประหนึ่งพระพายผัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=