สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ไพโรจน์ ทองค� ำสุก 11 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ – ภาพจ� ำหลักบานประตูทศกัณฐ์รบองคตและพระรบยักษ์ (ลอยหลังพิเศษ) ทศกัณฐ์ขึ้นลอย โดยใช้เท้าเหยียบที่ต้นขาองคต อีกเท้าหนึ่งเหยียบบ่า หันหน้าไปทางเดียวกัน – ภาพหนังใหญ่พระรามทรงหนุมาน (ลอยหลังพิเศษ) พระรามขึ้นลอยโดยใช้เท้าเหยียบ ที่ต้นขาหนุมาน อีกเท้าหนึ่งเหยียบบ่า หันหน้าไปทางเดียวกัน ด้านจิตรกรรม – ภาพลิงรบยักษ์ (ลอยหลัง) ลิงขึ้นลอยโดยใช้เท้าทั้งสองเหยียบที่ต้นขาของยักษ์ หันหน้าไป ทางเดียวกัน – ภาพพระรบยักษ์ (ลอยหลังพิเศษ) พระขึ้นลอยโดยใช้เท้าเหยียบที่ต้นขายักษ์ อีกเท้าหนึ่ง เหยียบบ่า หันหน้าไปทางเดียวกัน การขึ้นลอยในนาฏกรรมไทย ด้านนาฏกรรมไทยเรียกการต่อตัวนี้ว่า “ขึ้นลอย” ปรากฏในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ละครนอกเรื่องสุวรรณหงส์ รถเสน และโกมินทร์ เป็นต้น กระบวนท่าขึ้นลอยที่ปรากฏในนาฏกรรมไทย มีโอกาสที่ใช้ดังนี้ ๑. ขึ้นลอยเพื่อการเดินทาง ๒. ขึ้นลอยเพื่อการต่อสู้ ๓. ขึ้นลอยเพื่อการแสดงพลัง กระบวนท่าขึ้นลอยในนาฏกรรมไทย สรุปได้ดังนี้ ๑. ท่าลอยหนึ่ง ๒. ท่าลอยสอง ๓. ท่าลอยสาม ๔. ท่าลอยหลัง ๕. ท่าลอยหลังพิเศษ ๖. ท่าลอยหกบ่า ๗. ท่าลอยมัจฉานุ ๘. ท่าลอยยกสูง ๙. ท่าลอยยกสูงพิเศษ ๑๐. ท่าลอยสูงหนึ่ง ๑๑. ท่าลอยสูงสอง ๑๒. ท่าลอยรบหมู่ ๑๓. ท่าลอยรบหมู่พิเศษ กระบวนท่าในการต่อตัวขึ้นลอยมีข้อควรระวังดังนี้ ๑. ทั้งผู้ขึ้นและผู้ถูกขึ้นจะต้องมีความแข็งแรง โดยเฉพาะช่วงขา ๒. ทั้งผู้ขึ้นและผู้ถูกขึ้นจะต้องได้รับการฝึกฝนจนเกิดความช� ำนาญ ๓. ผู้ที่เป็นฐานต้องย่อเหลี่ยมตามจารีตในการแสดง ๔. ผู้ขึ้นลอยต้องทรงตัวและถ่ายเทน�้ ำหนักให้คงที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=