สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ยอดเยี่ ยม เทพธรานนท์ 149 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ ๑๐. รอยร้าวข้างเสาระหว่างผนังกับเสาอันตรายเพียงไร บ้านบางหลังมีรอยร้าวหรือรอยแยกเล็ก ๆ เกิดขึ้นที่รอยต่อของผนังกับเสาเป็นรอยเล็ก ๆ แนบกับเสา บางครั้งก็อาจจะมีแสงเล็ดลอดเข้ามา บางแห่งก็จะเป็นรอยรั่วเวลาฝนตก ถ้ารอยร้าวนี้ ไม่ได้ลามออกไปที่ผนังหรือลามไปที่ส่วนเสาโครงสร้าง และผนังก็ไม่ได้เอียงหรือโยกได้ ก็ไม่มีอันตรายอะไร ที่ต้องกังวลมากมาย เหตุที่เกิดก็เพราะการก่อผนังอาจจะไม่ได้เสียบ “หนวดกุ้ง” ซึ่งเป็นเหล็กเส้นเล็ก ๆ ยาว ประมาณ ๑ ฟุต ด้านหนึ่งเสียบเข้าไปในเสาโครงสร้าง อีกด้านหนึ่งฝังอยู่ในผนังก่ออิฐ ระหว่างก้อนอิฐ มีระยะห่างกันประมาณ ๑ ฟุต เหล็กหนวดกุ้งตัวนี้จะท� ำหน้าที่ “รั้ง” ให้ผนังกับเสานั้นแนบประสานกัน เป็นตัวช่วยไม่ให้ผนังมีการส่ายหรือบิดตัว ซึ่งจะเป็นการป้องกันการแตกร้าวเป็นร่องตามแนวตั้งระหว่าง ผนังกับเสาโครงสร้างนั้นได้ การแก้ไขก็คล้ายกับการแก้ไขรอยร้าวที่เกิดขึ้นใต้คาน คือ แก้ต้นเหตุที่การควบคุมงาน ให้ดี อย่าไปสกัดให้รอยเปิดกว้างแล้วเอาปูนทรายอัดเข้าไป (เพราะจะเกิดอาการแตกร้าวเหมือนเดิม) และวิธีการที่ง่ายที่สุดก็คือ เอาวัสดุประสานรอยร้าวที่ยืดหยุ่นได้ฉีดอัดเข้าไปที่รอยแตกนั้น หากท� ำถูกต้อง ตามกรรมวิธี จะอยู่ได้ประมาณ ๒-๔ ปี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=