สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรมเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ การต่อตัวในนาฏกรรมไทย * บทคัดย่อ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ความหมายค� ำ ต่อตัว ว่า ก. อาการที่คนหนึ่ง ขึ้นไปยืนบนบ่าของอีกคนหนึ่ง เช่น ต่อตัวปีนก� ำแพง. น. ชื่อการแสดงกายกรรมแบบหนึ่งที่ผู้แสดง คนหนึ่งหรือหลายคนขึ้นไปยืนเลี้ยงตัวบนตัวของผู้แสดงอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นหลักเป็นต้น. นาฏกรรมไทยเรียกการต่อตัวนี้ว่า “ขึ้นลอย” หากพิจารณาจะเห็นได้ว่านาฏกรรมไทย ด้านโขน ละครนั้นได้อิทธิพลรูปแบบการแสดงออกของท่าทางต่าง ๆ มาจากประติมากรรมและจิตรกรรม ซึ่งน� ำมาปรุงแต่งโดยใช้สรีระโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว และอารมณ์ ให้ออกมาเป็นกระบวน ท่าร� ำที่วิจิตรตระการตา กระบวนท่าขึ้นลอยปรากฏในการแสดงโขน ละครนอก จากวรรณกรรมเรื่องต่าง ๆ หลายเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ สุวรรณหงส์ รถเสน โกมินทร์ การขึ้นลอยในนาฏกรรมไทยมีโอกาสที่ใช้อยู่ ๓ ลักษณะ คือ ๑. ขึ้นลอยเพื่อการเดินทาง ๒. ขึ้นลอยเพื่อการต่อสู้ และ ๓. ขึ้นลอยเพื่อการแสดงพลัง ส� ำหรับกระบวนท่าขึ้นลอย ผู้เขียนได้วิเคราะห์สรุปได้ว่า การขึ้นลอยแบบตัวต่อตัวมีชื่อเรียกดังนี้ ๑. ท่าลอยหนึ่ง ๒. ท่าลอยสอง ๓. ท่าลอยสาม ๔. ท่าลอยหลัง ๕. ท่าลอยหลังพิเศษ ๖. ท่าลอยหกบ่า ๗. ท่าลอยมัจฉานุ ๘. ท่าลอยยกสูง และ ๙. ท่าลอยยกสูงพิเศษ การขึ้นลอยแบบหมู่มีชื่อเรียกดังนี้ ๑. ท่าลอยสูงหนึ่ง ๒. ท่าลอยสูงสอง ๓. ท่าลอยรบหมู่ และ ๔. ท่าลอยรบหมู่พิเศษ ค� ำส� ำคัญ : ต่อตัว, ขึ้นลอย ไพโรจน์ ทองค� ำสุก ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา การต่อตัวในนาฏกรรมไทยได้รับอิทธิพลมาจากประติมากรรมและจิตรกรรม ปรากฏให้เห็น ดังนี้ ด้านประติมากรรม – ภาพเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ (ลอยหลัง) พระนารายณ์ขึ้นลอยโดยใช้สองเท้า เหยียบที่ต้นขาของพญาสุบรรณ หันหน้าไปทางเดียวกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=