สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ยอดเยี่ ยม เทพธรานนท์ 141 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ ๑. รอยร้าวตามยาวใกล้ท้องคาน รอยร้าวที่เป็นรอยยาวใกล้ท้องคานที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) อยู่ด้านล่างเกือบ จะติดกับท้องคานเลย เป็นเส้นยาวต่อ ๆ กัน หมายความว่าเหล็กในคานที่เป็นเหล็กเสริมรับแรงดึงด้านล่าง น่าจะเป็นสนิม หรือความหนาของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กด้านล่างมีความหนาน้อยเกินไป (covering ไม่ถึง ๑ นิ้ว) ซึ่งมักจะเกิดตอนที่เทคอนกรีตแล้วไม่ได้จัดลูกปูนให้ดี หรือช่างเดินบนเหล็กอย่างไม่บันยะบันยัง ความชื้น จึงผ่านเข้าไปถึงตัวเหล็กเส้น ท� ำให้เหล็กเป็นสนิม พองตัว แล้วท� ำให้คอนกรีตแตก รอยร้าวลักษณะนี้จะท� ำให้คานรับแรงดึงได้น้อยลง (รับน�้ ำหนักกดกลางคานได้น้อยลง) หากเป็นเล็กน้อย วิศวกรก็จะให้กะเทาะคอนกรีตออก ท� ำความสะอาดเหล็ก แล้วใช้อิพ็อกซีฉาบ เข้าไปแทน แต่หากเป็นมากก็จะต้องเสริมโครงสร้างใหม่เข้าไปช่วย โดยท� ำความสะอาดของเก่าก่อน แล้วใช้ซีเมนต์ที่ไม่หดตัว (non shrink cement) ฉาบเข้าไป หากอาการหนักมาก ๆ และอาจจะลุกลาม ไปที่อื่น ก็จะต้องตัดคานส่วนนี้ออกแล้วท� ำใหม่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=