สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
คู่พระใหญ่พระน้อยในนาฏกรรมไทย 138 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 ๑๐. กระบวนท่าออกกราวตรวจไพร่พลจะมีท่าตรวจพลเฉพาะ พระใหญ่ออกกราวฉากหนึ่ง พระน้อยออกกราวฉากสอง ออกกราวพร้อมกันในฉากสาม ๑๑. จารีตในการร� ำเพลงหน้าพาทย์เสมอ หน้าพาทย์บาทสกุณี เป็นต้น พระใหญ่จะร� ำเยื้องหน้า เสมอ ส่วนพระน้อยจะร� ำเยื้องลงมาทางขวามือของพระใหญ่ ๑๒. จารีตการร� ำที่พระใหญ่กับพระน้อยต้องร� ำคู่กัน พระใหญ่จะใช้ท่าใหญ่ พระน้อยจะใช้ ท่าเล็ก (ท่าใหญ่หรือท่าสูง คือ การกางแขนออกไปเต็มที่และยกมือสูง เช่น ท่านภาพร ท่าเล็กหรือท่าต�่ ำ คือ ท่าที่กางแขนออกเล็กน้อยและไม่ยกท่าสูงกว่าพระใหญ่ เช่น ท่าจันทร์ทรงกลด) ๑๓. จารีตในการแสดง พระน้อยจะคอยดูแลปรนนิบัติช่วยเหลือพระใหญ่อยู่เสมอ เช่น ตอนทศกัณฐ์ลักสีดาไป พระลักษมณ์จะคอยประคองเมื่อยามที่พระรามโศกเศร้าเสียใจ อาลัยนางสีดา และดูแลปรนนิบัติพัดให้พระรามบรรทมเพื่อพักผ่อน สังคามาระตาดูแลอิเหนาเมื่อพักแรมในป่าโดย ปรนนิบัติพัดให้อิเหนา พระคาวีดูแลพระหลวิชัยด้วยความเป็นห่วงเป็นใย. หนังสืออ้างอิง ธนิต อยู่โพธิ์. โขน . กรุงเทพฯ : ศิวพร, ๒๕๑๑. พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. บทละครนอกเรื่องคาวี . กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๑๐. ศิลปากรม, กรม. โขน อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย . กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๓.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=