สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ไพโรจน์ ทองค� ำสุก 137 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ ที่เมืองท้าวสันนุราชก� ำลังมีประกาศให้คนที่มีวิชาอาคมไปช่วยชุบท้าวสันนุราชให้เป็นหนุ่ม เพราะพระนางจันท์สุดาไม่ยอมรับรักท้าวสันนุราช หลวิชัยจึงแต่งกายปลอมเป็นฤๅษีเข้าเฝ้าและรับอาสา จะชุบท้าวสันนุราชให้เป็นหนุ่ม ท้าวสันนุราชดีใจมาก หลวิชัยจึงสั่งให้ขุดหลุมลึกแล้วกั้นม่านเจ็ดชั้น ที่หลุมนั้นสุมไฟไว้ หลวิชัยให้ท้าวสันนุราชกระโดดลงไปที่กองไฟนั้น ด้วยความที่อยากเป็นหนุ่ม ท้าวสันนุราช ก็กระโดดลงไปในกองไฟสิ้นชีวิต หลวิชัยก็น� ำคาวีออกมาแทน ทุกคนก็เข้าใจว่าเป็นท้าวสันนุราชชุบตัวกลาย เป็นคนหนุ่มแล้วก็โห่ร้องดีใจ และจัดอภิเษกท้าวสันนุราชหรือคาวีกับพระนางจันท์สุดา ส่วนยายเฒ่า เมื่อเห็นดังนั้นก็เกิดความกลัวรีบหลบหนีไป หลวิชัยเมื่อเห็นคาวีปลอดภัยแล้ว ก็ลาคาวีและพระนางจันท์ สุดาเพื่อเดินทางต่อไป คาวีและพระนางจันทร์สุดาก็อยู่ครองเมือง กล่าวถึงนางคันธมาลีมเหสีของท้าว สันนุราชเมื่อรู้ข่าวว่าท้าวสันนุราชชุบตัวเป็นหนุ่มก็รีบไปหา แต่กลับพบท้าวสันนุราชก็คือพระคาวีอยู่กับ ผู้หญิงรูปงาม ก็ไม่พอใจหึงหวงเพราะคิดว่าเป็นพระสวามี พระคาวีไม่สนใจ นางคันธมาลีจึงคิดจะชุบตัวบ้าง แต่ก็ไม่กล้ากลัวไฟ จึงกลับต� ำหนักไป ต่อมารู้ข่าวว่าหนุ่มรูปงามผู้นั้นไม่ใช่ท้าวสันนุราช จึงให้ไวยทัต หลานชายมาช่วย แต่แล้วหลานชายต้องมาเสียชีวิตในการต่อสู้ จารีตในการแสดงของคู่พระใหญ่พระน้อยทั้ง ๕ คู่ ปฏิบัติเหมือนกัน ยกเว้นแต่จะมีการก� ำหนด ให้แตกต่างกันตามบทละคร ดังนี้ ๑. จารีตในการเดินออกแสดงสู่เวที พระใหญ่จะเป็นผู้น� ำพระน้อยออกก่อนเสมอ ๒. จารีตในการเข้าเวที พระใหญ่จะเป็นผู้น� ำเข้าก่อนเสมอ ๓. จารีตในการยืน พระใหญ่จะยืนอยู่ด้านหน้าเสมอ ส่วนพระน้อยจะยืนเหลื่อมขวามือของ พระใหญ่ลงไปเล็กน้อย ๔. จารีตในการนั่ง พระน้อยจะนั่งด้านขวามือของพระใหญ่ ยกเว้นในฉากนั้นจะมีตัวนางที่ เป็นมเหสีหรือคู่รักของพระใหญ่อยู่ด้วย และยกเว้นในการแสดงโขนนั่งราว พระน้อยจะนั่งด้านซ้าย ๕. จารีตในการนั่งราชรถ พระใหญ่จะนั่งบนบัลลังก์ ส่วนพระน้อยจะนั่งลงบนพื้นราชรถด้านหน้า ๖. จารีตในการยืนกับนั่ง พระใหญ่จะไม่นั่งกับพื้นในขณะที่มีพระน้อยอยู่ด้วย แต่พระน้อย จะนั่งกับพื้นได้ในขณะที่พระใหญ่ยังยืนอยู่ ๗. จารีตการเข้าต่อสู้ พระใหญ่จะเริ่มเข้าต่อสู้กับศัตรูก่อนพระน้อย พระน้อยจะคอยระวังภัย ๘. กระบวนท่ารบจะมีท่ารบเฉพาะ พระใหญ่รบท่าหนึ่ง พระน้อยรบท่าสอง ยกเว้นพระน้อย จะออกรบเพียงล� ำพังก็สามารถใช้ท่ารบได้ทั้ง ๒ ท่า ๙. กระบวนท่ารบขึ้นลอยจะมีท่าขึ้นลอยเฉพาะ พระใหญ่ขึ้นลอยหนึ่ง พระน้อยขึ้นลอยสอง พระใหญ่ขึ้นลอยสาม ยกเว้นพระน้อยจะออกรบเพียงล� ำพังก็สามารถใช้ท่ารบขึ้นลอยได้ทั้ง ๓ ท่า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=