สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรมเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ คู่พระใหญ่พระน้อยในนาฏกรรมไทย * ไพโรจน์ ทองค� ำสุก ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ คู่พระใหญ่พระน้อยในนาฏกรรมไทยปรากฏมีด้วยกันหลายคู่ คือ พระรามกับพระลักษมณ์ พระพรตกับพระสัตรุด พระมงกุฎกับพระลบ ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ อิเหนากับสังคามาระตา ในการแสดงละครในและละครพันทางแต่งชวาเรื่องอิเหนาและหลวิชัยกับคาวี ในการแสดงละครนอก เรื่องคาวี จะเห็นได้ว่าคู่พระใหญ่พระน้อยล้วนเป็นพี่น้อง มีความสัมพันธ์สนิทสนมกันอย่างมาก ไปไหน มาไหนด้วยกัน ร่วมท� ำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยกันอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการก� ำหนดจารีตการแสดงในบทบาท คู่พระใหญ่ พระน้อยที่มีกฎเกณฑ์เฉพาะในการแสดง เน้นความเป็นพี่น้องดูแลซึ่งกันและกัน การที่พระน้อย ให้เกียรติผู้เป็นพี่ แสดงความรัก เอื้ออาทรต่อกัน แสดงความเสียสละ เป็นห่วงเป็นใย โดยใช้การแสดง กระบวนท่าร� ำต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งบทให้พระใหญ่ ซึ่งเป็นตัวเอกโดดเด่นมากยิ่งขึ้น เช่น พระน้อย จะไม่ออกและเข้าเวทีก่อนพระใหญ่ พระน้อยจะไม่ร� ำล�้ ำหน้าพระใหญ่ พระน้อยจะไม่ร� ำกระบวนท่า ที่ใช้มือสูงกว่าพระใหญ่ พระน้อยจะยืนและนั่งด้านขวามือของพระใหญ่ ค� ำส� ำคัญ : คู่พระ, พระใหญ่, พระน้อย บทน� ำ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีการสร้างศีรษะหุ่นหลวงเป็นหุ่นพระคู่ ที่แกะสลักจากไม้รัก เป็นงานฝีพระหัตถ์ของรัชกาลที่ ๒ ซึ่งมีความประณีตมาก พระราชทานชื่อว่า พระยารักใหญ่ พระยารักน้อย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นายช่างใหญ่ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตรัสชมว่า “งามไม่มีหน้าพระอื่นเสมอสอง” นอกจากนี้ยังปรากฏค� ำว่า พระใหญ่ พระน้อย โดยนายธนิต อยู่โพธิ์ กล่าวไว้ว่า เป็นชื่อที่ใช้ในการจัดล� ำดับตัวโขนพระฝ่ายพลับพลา พระใหญ่ หมายถึงพระราม พระน้อยหมายถึงพระลักษมณ์ (ธนิต อยู่โพธิ์, ๒๕๑๑, ๙๙) กล่าวได้อีกว่าพระใหญ่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=