สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

นววรรณ พั นธุเมธา 129 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ พจนานุกรมบางเล่ม ได้แก่ สัพะ พะจะนะ พาสา ไท และศริพจน์ภาษาไทย์ มีทั้ง ค� ำว่า สะเทิน และสะเทิ้น แต่ให้ความหมายกลับกับปัจจุบัน คือ สะเทิน หมายถึง อาย สาวสะเทิ้น หมายถึง คนรุ่นสาว สันนิษฐานว่า เดิมมีแต่ค� ำว่า สะเทิน ใช้หมายถึงก�้ ำกึ่งก็ได้ กระดากอายก็ได้ ต่อมาออก เสียงวรรณยุกต์เปลี่ยนไปเป็น สะเทิ้น ใช้ค� ำว่า สะเทินหรือสะเทิ้น ได้ทั้ง ๒ ค� ำ ปัจจุบันแยกความหมาย ของค� ำทั้งสอง ค� ำว่า สะเทิน หมายถึง ก�้ ำกึ่ง ส่วน สะเทิ้น หมายถึง กระดากอาย ๒) ขอก ในค� ำซ้อน ๔ พยางค์ บ้านนอกขอกนา พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ มีค� ำซ้อน ๔ พยางค์ บ้านนอกขอกนา ซึ่งคนไทยจ� ำนวนมากออกเสียงว่า บ้านนอกคอกนา ให้ความหมายไว้ดังนี้ บ้านนอกขอกนา, บ้านนอกคอกนา น. บ้านนอก. ค� ำซ้อนสี่พยางค์ บ้านนอกขอกนา พบในบทละครเรื่อง สังข์ทอง พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ดังนี้ เมื่อนั้น พระสังข์ทองร้องห้ามคนถือหวาย ช่างเถิดเสนาอย่าวุ่นวาย ตายายชาว บ้านนอกขอกนา ค� ำว่า ขอก หมายความว่า ริม บ้านนอกขอกนา จึงหมายความว่า บ้านนอกริมนา ใช้เรียก พื้นที่เป็นทุ่งเป็นนา อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวง และเรียกชาวบ้านสามัญชนที่อยู่ห่างไกลความเจริญว่า พวกบ้านนอกขอกนา ปัจจุบัน ค� ำว่า ขอก ยังพบได้ในเอกสารเก่า เช่น จารึกเขาสุมนกูฏ ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๒-๗ มีข้อความว่า “สอง ขอก หนทาง ย่อมตั้งกัลปพฤกษ์...” และภาษาไทยถิ่นเหนือกับภาษา ตระกูลไทบางภาษาก็มีค� ำว่า ขอก เช่น ไปขอกฟ้า ในภาษาไทยถิ่นเหนือ หมายถึงไปริมฟ้า ยู้ต้อกบ๋าน ในภาษาไทขาว หมายถึง อยู่ชายขอบหมู่บ้าน ส่วนค� ำซ้อนสี่พยางค์ บ้านนอกคอกนา พบในบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เรื่อง คาวี ที่ว่า เหล่านักเลงเล่นเบี้ยเสียถั่ว มาฝากตัวตาหมอคิดฉ้อฉล บ้างเรียนชักไม้กงพัดหัดเล่นกล คอยลวงคนชาว บ้านนอกคอกนา ค� ำว่า คอก หมายถึงที่ขังสัตว์ ความหมายไม่สอดคล้องกับค� ำว่า นา จึงสันนิษฐานกันว่า ค� ำว่า คอก กลายเสียงมาจาก ขอก เพราะอิทธิพลของเสียงวรรณยุกต์โทของค� ำที่อยู่ข้างหน้าคือค� ำว่า นอก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=