สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ความส� ำคั ญของการสะกดค� ำในเอกสารเก่า 128 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 ๑) สะเทิน ค� ำว่า สะเทิน ถ้าเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์ที่ ๒ เป็นเสียงตรี จะกลายเป็นสะเทิ้น ค� ำว่า สะเทิ้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ความหมายว่า “ก. แสดงกิริยาวาจา อย่างขัด ๆ เขิน ๆ เพราะรู้สึกขวยอาย (มักใช้แก่หญิงสาว)...” ส่วนค� ำว่า สะเทิน พจนานุกรมฉบับดังกล่าว ให้ความหมายไว้อย่างหนึ่งว่า สะเทิน ๑ ว. ครึ่ง ๆ กลาง ๆ , ก�้ ำกึ่ง , เช่น สาวสะเทิน คือ เพิ่งจะขึ้นสาวหรืออยู่ใน ระหว่างสาวกับเด็กก�้ ำกึ่งกัน. สะเทินน�้ ำสะเทินบก ว. ที่อยู่ได้หรือปฏิบัติการ ได้ทั้งในน�้ ำและบนบก เช่น การรบสะเทินน�้ ำสะเทินบก เรือสะเทินน�้ ำ สะเทินบก เครื่องบินสะเทินน�้ ำสะเทินบก, เรียกสัตว์จ� ำพวกที่อยู่ได้ทั้งใน น�้ ำและบนบก เช่น กบ คางคก อึ่งอ่างว่า สัตว์สะเทินน�้ ำสะเทินบก. เดิมค� ำว่า สะเทิน กับ สะเทิ้น น่าจะเป็นค� ำเดียวกัน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวใช้ค� ำว่า สะเทิน และสะเทิ้น ในความหมายท� ำนองเดียวกัน เช่น ในหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒ หน้า ๑๘๗ มีค� ำว่า นาสเทิน ในข้อความว่า ...พระยาชลบูรานุรักษได้ให้กรมการก� ำนันออกตรวจดูราษฎรแขวง เมืองชลบุรีย นาที่หลุ้มที่น�้ ำขังฦกแปดนิ้วเก้านิ้ว นาสเทิน น�้ ำฦกห้านิ้วหกนิ้ว นาที่ดอน สองนิ้ว สามนิ้ว.. แต่ใน จดหมายเหตุเสด็จพระราชด� ำเนิรประพาศทวีปยุโรป ครั้งที่ ๒ เล่ม ๑ มีค� ำว่า เกวียนสเทิ้นในข้อความว่า “ทางลุ่ม ๆ ดอน ๆ มีเนินลาด ๆ เปนไร่สวนแลป่าไม้สลับกันไป เกวียนขนฟืน ที่นี่ท� ำคล้ายเกวียนสเทิ้นที่ใช้ในประเทศสยาม” “นาสเทิน” หมายถึง นาที่ก�้ ำกึ่ง อยู่ในระหว่างนาที่ลุ่มและนาที่ดอน ส่วน “เกวียนสเทิ้น” หมายถึงเกวียนที่แล่นได้ทั้งบนบกและที่ที่มีน�้ ำขัง พจนานุกรมสมัยต้นรัตนโกสินทร์บางเล่มมีแต่ค� ำว่า สะเทิน หมายถึง ก�้ ำกึ่งก็ได้ กระดาก อายก็ได้ ดัง อักขราภิธานศรับท์ เก็บค� ำว่า สะเทิน ให้ความหมายไว้ว่า สะเทิน, คือคนสื่อฤๅรุ่นหนุ่มรุ่นสาว, ผู้ชายที่สื่อรุ่นหนุ่มผู้หญิงสื่อรุ่นสาวขึ้นนั้น. สะเทินใจ, คือใจกะดาก, เช่น คนลอบลักพูจเกี้ยวเมียเขา, ผู้นั้นภบผัวเข้าก็มี ใจกระดากนั้น. สะเทินหนุ่ม, คือสื่อหนุ่ม, คนฤๅสัตวที่มันสื่อถึกเถลิงหนุ่มสาวขึ้นนั้น.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=