สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
นววรรณ พั นธุเมธา 127 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ เห็นได้ว่า ค� ำว่า ถุ้งเถียง ได้กลายเสียงเป็นทุ่มเถียงในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เดิมใช้ ทั้งถุ้งเถียงและทุ่มเถียง แต่ในที่สุดถุ้งเถียงก็เลิกใช้ไป ค� ำว่า ถุ้ง ในถุ้งเถียงมีเสียงคล้ายค� ำว่า ถ้อง ใน ภาษาไทยถิ่นเหนือซึ่งหมายถึงโต้ตอบ และค� ำว่า ต็อง ในภาษาจ้วงใต้ ซึ่งหมายถึง ซึ่งกันและกัน ถุ้งเถียง จึงน่าจะหมายถึงเถียงกันไปมา แต่เมื่อกลายเสียงเป็นทุ่มเถียง ค� ำว่า ทุ่ม หมายถึง ทิ้งลงโดยแรง จึงมักตีความกันว่า ทุ่มเถียง หมายถึง เถียงกันเต็มที่ เถียงกันอย่างรุนแรง ๒) คลุกคลาน ในค� ำซ้อน ๔ พยางค์ ล้มลุกคลุกคลาน ค� ำว่า คลุกคลาน น่าจะมาจากค� ำว่า คุกคลาน อักขราภิธานศรับท์ ให้ความหมายว่า คุกคลาน, คืออาการที่ท� ำเข่าทั้งสอง, ให้ตั้งลงเหนือพื้นแล้ว, เอามือท้าวลงทั้งสอง ข้าง, ยกเท้าไปนั้น. มีตัวอย่างค� ำว่า คุกคลาน ในบทเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ซึ่งเล่าถึงขุนช้างและขุนแผนที่ไป ฝึกหัดราชการกับพระหมื่นศรีว่า ขุนแผนนั้นสอนง่ายได้ดังใจ ขุนช้างจังไรยากหนักหนา คุกคลาน เข้าเฝ้าเหมือนเต่านา หลายวันมาจึงได้ไปใช้เวร เมื่อซ้อนค� ำว่า ล้ม ลุก และคุกคลาน เป็นล้มลุกคุกคลาน จะมีความหมายว่าล้มแล้ว ลุกเดินหรือวิ่งต่อไปแล้วล้มแล้วลุกไปเรื่อย ๆ ตัวอย่างค� ำว่า ล้มลุกคุกคลาน พบในบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ กลอนบทหนึ่งกล่าวถึงเหล่าฤๅษีที่ตื่นตกใจเมื่อได้ยินเสียงอึกทึกของไพร่พล เมืองอโยธยาที่ติดตามหาพระลักษณ์ พระราม และนางสีดาว่า บ้างถลา ล้มลุกคุกคลาน วิ่งซมซานแอบไม้ใบหนา รอยหนามเหนี่ยวเกี่ยวยับทั้งทายา ปีนหินผาด้นดั้นบนบรรพต ต่อมาค� ำซ้อน ๔ พยางค์ ล้มลุกคุกคลาน กลายเป็น ล้มลุกคลุกคลาน เริ่มพบใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ พจนานุกรมก่อนหน้านั้น ได้แก่ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ มีแต่ค� ำล้มลุก ไม่มีล้มลุกคลุกคลาน ๓. การสะกดค� ำกับการออกเสียงวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ที่จะกล่าวถึงได้แก่ เสียงวรรณยุกต์ที่เปลี่ยนไปในค� ำว่า สะเทิน และค� ำว่า ขอก ในค� ำซ้อนสี่พยางค์ บ้านนอกขอกนา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=