สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
นววรรณ พั นธุเมธา 125 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ ใน ยวนพ่าย ก็มีโคลงบทหนึ่งซึ่งมีค� ำว่า ไหง้ว ดังนี้ เอกาทสเทพแส้ง เอาองค์ มาฤๅ เป็นพระศรีสรรเพชญ ที่อ้าง พระเสด็จด� ำรงรักษ ล้ยงโลก ไส้แฮ ทุกเทพทุกท้าง ไหงว้ ช่วยไชย ฯ นอกจากค� ำว่า ไหง้ว ใน ยวนพ่าย มีโคลงบทหนึ่งซึ่งมีค� ำว่า ไหงว ดังนี้ หาญเราต่อเต่งง้วง ไหงว ฤๅ สารเติบต่อตัวทับ ท่าวหั้น เขารุกเร่งพลปือ ยอพ่าน ม้าช้างฉวัดไล่ซ้นน ช่วยแทง ฯ หากพิจารณาภาษาไทยถิ่น และภาษาตระกูลไทประกอบจะพบว่าหลายภาษามีพยัญชนะ งว เช่น ภาษาไทยถิ่นเหนือ มีค� ำ งว้าย, งวาก (= วก เลี้ยว กลับ) ภาษาไทยถิ่นอีสาน มีค� ำ งว้าง (= ง่วง, ชื่อแมลงในจ� ำพวกจักจั่น) งวก (= เหลียว หัน) ภาษาไทขาว มีค� ำ หมื่องวา (= เมื่อวาน) หงว่าย, หงวัก (= เหลียวหลัง) ภาษาจ้วงใต้ มีค� ำ งวั่น (= วัน) งวาด (= แกว่ง) งวาง (= งั่ง, โง่) เงวบ (= เงียบ) แงวก (= เงือก) น่าสังเกตว่าในภาษาจ้วงใต้มีบางค� ำที่มีพยัญชนะต้นออกเสียงควบกล�้ ำก็ได้ ไม่ควบกล�้ ำก็ได้ เช่น งวั่น และ วั่น หมายถึง วัน งวาย และ ไว่ หมายถึง ไหว งวาง ง๋าง และ งั๋ง หมายถึง งั่ง ต่อไปเสียง งว ในภาษาจ้วงใต้อาจหายไปบ้างก็ได้ ในภาษาไทยมีค� ำว่า วัว และ งัว เทียบกับภาษาตระกูลไทได้ดังนี้ ภาษาไทขาว โง ภาษาไทพ่าเก่ โง้ ภาษาไทเหนือ โง้, โว้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=