สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ความส� ำคั ญของการสะกดค� ำในเอกสารเก่า 124 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 ...พวกราษฎรออกเสียงเรียกผิดกัน เจ้ามือ เจ้าหนี้ นั้น ออกเสียงเป็น เจ้า นั้น แต่เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า นั้นออกส� ำเนียงเป็น เจ้า ยาว...ที่จริงก็เป็นค� ำเดียวกัน หากราษฎรรู้สึกว่าผิดกัน จึงออกเสียง ต่างกันไป ค� ำว่า เจ้า นี้ต่างกับค� ำว่า ข้าว แม้ปัจจุบันจะออกเสียงสระเป็นเสียงยาวไปแล้ว ก็ยังคง เขียนว่า เจ้า มีรูปสระเป็นเสียงสั้นอย่างเดิม ๒. การสะกดค� ำกับการออกเสียงพยัญชนะ เสียงพยัญชนะที่จะกล่าวถึงมีทั้งเสียงพยัญชนะที่บัดนี้อาจไม่มีในภาษาไทย และเสียงพยัญชนะ ที่ยังมีอยู่ในภาษาไทย แต่ได้เปลี่ยนเป็นเสียงอื่นในค� ำบางค� ำ ก. เสียงพยัญชนะที่ปัจจุบันอาจไม่มีในภาษาไทย ได้แก่ เสียง ฃ ฅ และ งว ๑) ฃ ฅ พยัญชนะ ฃ ฅ ปรากฏในจารึกพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช ในสมัยสุโขทัย ฃ ฅ น่าจะมี เสียงต่างกับ ข ค ไม่เช่นนั้นคงไม่มีการคิดอักษร ฃ ฅ ขึ้นใช้ในภาษาไทย จารึกพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช มีค� ำที่ใช้ ฃ ฅ อยู่หลายค� ำ เช่น ฃึ้น ฃุน ฃาม เฃ้า ฅู้ม ฅวาม แฅว ฅ� ำ เสียง ฃ และ ฅ ในค� ำเหล่านี้ น่าจะมิได้ออกเสียงเหมือน ข ค ซึ่งเป็นเสียงกักที่ฐานเพดานอ่อน นักภาษาศาสตร์บางคนสันนิษฐาน ว่า ฃ และ ฅ เป็นเสียงกักที่เกิดที่ฐานลิ้นไก่ซึ่งอยู่ถัดจากบริเวณเพดานอ่อนเข้าไป แต่บางคนก็สันนิษฐาน ว่าเป็นเสียงเสียดแทรกเกิดที่ฐานเพดานอ่อน หากพิจารณาภาษาตระกูลไทภาษาอื่นประกอบ จะพบว่า บางภาษา เช่น ภาษาไทขาว มีการแยกเสียง kh กับ khh ค� ำบางค� ำที่ในจารึกพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชมีพยัญชนะต้นเป็น ข เช่น เข๋า (ปัจจุบันใช้ว่า ข้าว) ีข่ ค� ำในภาษาไทขาวมีพยัญชนะต้น kh ส่วนค� ำบางค� ำที่ในจารึกพ่อขุนรามค� ำแหง มหาราช มีพยัญชนะต้นเป็น ฃ หรือ ฅ เช่น แฃวน ฅ� ำ (= ทองค� ำ) ค� ำในภาษาไทขาวมีพยัญชนะต้น khh ๒) งว พยัญชนะ งว พบในวรรณคดีบางเรื่อง เช่น มหาชาติค� ำหลวง กัณฑ์ทศพร พระนางผุสดี ทูลพระอินทร์ก่อนที่พระอินทร์จะประทานพร ๑๐ ประการว่า ...นโม เม อันว่ามูรธาศ ไหง้ว แห่งข้า เต อตฺถุ จงมี แก่เจ้าฟ้าฟอกไตรตรึงษ์...
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=