สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

นววรรณ พั นธุเมธา 123 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ ค� ำว่า ข้าว ภาษาตระกูลไทภาษาต่าง ๆ มีเสียงสั้น เช่น ภาษาจ้วงใต้ และภาษาไทขาวว่า เขา ภาษาไทเหนือและภาษาไทใหญ่ว่า เข้า ส่วนภาษาไทพ่าเก่ว่า เข่า ในประเทศไทยเอง ค� ำว่า ข้าว เขียนแสดงสระเสียงสั้นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จารึกพ่อขุน รามค� ำแหงมหาราช ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘-๑๙ มีข้อความว่า “ใน + น� ำ ( ีม) ปลา ใน นา ีม เข๋า” แบบเรียนและพจนานุกรมฉบับต่าง ๆ ล้วนเขียนค� ำนี้เป็นเสียงสั้นว่า เข้า เช่น จินดามณี และ อักขรา ภิธานศรับท์ เขียนว่า เข้าสาน ศริพจน์ภาษาไทย์ และ ปทานุกรมส� ำหรับนักเรียน ของกรมต� ำรา เขียนว่า เข้าสาร ค� ำว่า ข้าว เพิ่งจะเริ่มปรากฏใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ ส่วนค� ำว่า เจ้า ภาษาตระกูลไท ภาษาต่าง ๆ ก็มีเสียงสั้น เช่นภาษาจ้วงใต้ว่า เตฺสา ภาษา ไทขาวว่า เจ๋า ภาษาไทเหนือว่า เตฺส้า ภาษาไทใหญ่ว่า เจ้า และภาษาไทพ่าเก่ว่า เจ่า ในประเทศไทยเอง จารึกพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๓๔ เขียนค� ำนี้ ว่า เจ๋า คือมีเสียงสั้น ดังนี้ มนน จกก ก่ลาว ืเถง เจ๋า ืเถง ุ ฃน บ่ ไร๋ พจนานุกรมฉบับต่าง ๆ เช่น อักขราภิธานศรับท์ ศริพจน์ภาษาไทย์ และ ปทานุกรมส� ำหรับ นักเรียน ของกรมต� ำรา ก็เขียน เจ้า อย่างไรก็ตาม สมัยต้นรัตนโกสินทร์ หนังสือบางเล่มเขียนค� ำนี้ว่า จ้าว เช่น โคลงนิราศ พระยาตรัง มีว่า จ้าว ลายลายฉากกั้น เตียงนอน นางนา เขียนเล่ห์ลายสิงขร เขตรนี้ ใฝ่ใจจะขอพร นบเทพย์ ท่านแฮ เชิญเทพย์ จ้าว ลายลี้ ลาศให้เห็นองค์ หนังสือบางเล่มเขียนทั้ง เจ้า และ จ้าว เช่น “ต� ำนานหนังสือต� ำราพิไชยสงคราม” ในหนังสือ ต� ำราพิไชยสงคราม มีว่า “พระ จ้าว น้องยาเธอ พระองค์จ้าวสุริยวงษ” และ “พระ เจ้า น้องยาเธอเป็นแม่กอง” นี่แสดงว่า ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีผู้ออกเสียงค� ำว่า เจ้า เป็นเสียงยาว แต่ถ้าค� ำว่า เจ้า เป็นค� ำต้นของค� ำประสม น่าจะยังคงออกเสียงสั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ ทรงวิจารณ์การออกเสียงค� ำว่า เจ้า เป็นเสียงสั้นและยาวว่าเป็นเพราะผู้พูดถือว่าค� ำว่า เจ้าเสียงสั้นกับค� ำว่า เจ้าเสียงยาวมีความหมายต่างกัน ดังมีข้อความในหนังสือ สาส์นสมเด็จ เล่ม ๑๒ ว่า

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=