สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ความส� ำคั ญของการสะกดค� ำในเอกสารเก่า 122 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 จินดามณี ฉบับหมอบรัดเล ก็มีค� ำว่า ส� ำหาว ดังมีข้อความว่า อนึ่งของสิ่งใด เรียกเปนค� ำหยาบค� ำผวน ห้ามมิให้กราบทูลเหมือนเรียกว่า ผักบุ้ง แลหมา แมว นก กา ขี้ เปนต้น อย่างนี้อย่ากราบทูล ถ้าจะทูลให้ทูลไปอย่างอื่น แต่ภอเข้าพระไทย เหมือนหนึ่ง ผักเหล่านี้แล ผักบุ้ง ให้ว่า ผักทอดยอด ผักตบ ให้ว่า ผักส� ำหาว ดอกผักตบ ให้ว่า ดอกส� ำหาว ค� ำว่า ส� ำหาว อาจกลายเป็นสามหาวสมัยต้นรัตนโกสินทร์ หนังสือ ราชาศัพท์ ฉบับโรงเรียน มหาดเล็กหลวง ระบุว่า ผักตบ เรียก ผักสามหาว พจนานุกรมสมัยต้นรัตนโกสินทร์แยก ส� ำหาว ให้เป็นคนละค� ำกับ สามหาว ให้ความหมาย ต่างกัน เช่น อักขราภิธานศรับท์ ให้ความหมายว่า ส� ำหาว, คือ พูดค� ำหยาบอ้างถึงที่ลับแห่งหญิงฤๅชายที่ไม่ควรคนดีจะกล่าวนั้น สามหาว, ผักตบ, เปนชื่อต้นผักอย่างหนึ่ง, เกิดในน�้ ำตามทุ่งนาเมื่อระดูฝน ดอกสีเขียว พจนานุกรมสมัยต้นรัตนโกสินทร์อีกเล่มหนึ่งคือ สัพะ พะจะนะ พาสา ไท ก็ให้ ความหมายไว้คล้ายกันคือ ส� ำหาว หมายถึง ทะลึ่ง หยาบคาย ส่วน สามหาว เป็นชื่อผัก อย่างไรก็ตาม พจนานุกรม ฉบับต่อมาคือ ศริพจน์ภาษาไทย์ ถือว่า สัมหาว กับ สามหาว มีความหมายอย่างเดียวกัน คือ ทะลึ่ง หยาบโลน และไม่ได้กล่าวถึง ผักสามหาว ต่อมาอีก ปทานุกรมส� ำหรับนักเรียน ของกรมต� ำรา มีแต่ค� ำว่า สามหาว ให้ความหมายว่า สามหาว น. ต้นผักตบ, ค� ำหยาบ, ค� ำน่าอาย, ค� ำสัปดน... ปัจจุบัน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ แยก สามหาว เป็น ๒ ค� ำ ค� ำหนึ่ง หมายถึงหยาบคาย อีกค� ำหนึ่งเป็นชื่อผัก อันที่จริงค� ำว่า สามหาว ๒ ค� ำนี้มีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน มีผู้สันนิษฐานว่าไทยยืม ส� ำหาว ซึ่งกลายเป็น สามหาว จากค� ำว่า สาหาว ในภาษาเขมรซึ่งแปลว่า ร้าย เหี้ยมโหด ดุ ๕) ข้าว เจ้า ค� ำว่า ข้าว และ เจ้า ออกเสียงยาวเหมือนกัน แต่มีรูปสระต่างกัน อันที่จริง ในสมัยก่อน ทั้ง ๒ ค� ำน่าจะออกเสียงสั้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=