สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

นววรรณ พั นธุเมธา 121 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ ล� ำดับนี้ฉันจะชี้ข้อขยาย คือ ระใบ กับระบายค� ำสยาม เด็ก ๆ ดูรู้ไนยจงใช้ความ เพดานงามมี ระใบ ละไมดี พระกลดใหญ่มี ระใบ ถึงสามชั้น ส� ำหรับกั้นกันองค์พระทรงศรี พระเสวตรฉัตรไชย ระใบ มี สุวรรณขลิบดิบดีนพปฎล ระใบ ผ้าน่ามุ้งระใบม่าน ค� ำนี้ท่านใช้ ระใบ ทุกแห่งหน ก� ำหนดแน่ใช้แม่ ก กายล อย่าให้ปนค� ำยาวกล่าวว่าบาย อีกค� ำนี้ฉันจะชี้ให้รู้อัตถ์ ส� ำเนียงชัดค� ำยาวกล่าวขยาย เหมือนพวกช่างเขียนวาดฉลาดลาย เขียนระบายสีประสานช� ำนาญเคย ระบายดีสีเมฆทั้งมอม่วง ดอกไม้ร่วงรายดอกอยู่เฉย ๆ นี่ควรใช้ค� ำระบายพิปรายเปรย ใช้แม่เกยค� ำยาวกล่าวประจ� ำ แม้พระยาศรีสุนทรโวหารได้เขียนเตือนไว้แล้ว คนไทยสมัยนั้นและสมัยต่อ ๆ มาก็เขียน และออกเสียงค� ำว่า ระใบ เป็น ระบาย พจนานุกรมสมัยต้นรัตนโกสินทร์อย่าง สัพะ พะจะนะ พาสา ไท อักขราภิธานศรับท์ และศริพจน์ภาษาไทย์ มีแต่ค� ำ ระบาย ไม่มี ระใบ และหนังสือ พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีข้อความที่ใช้ค� ำว่า ระบาย ซึ่งหมายถึง ผ้าที่ห้อยจากขอบ ดังนี้ การที่จัดพระแท่นมณฑลในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ก็เป็นอันพึ่งมีใหม่ขึ้นในครั้งนั้น เหมือนกัน พระแท่นมณฑลองค์น้อยระบายสามชั้นท� ำขึ้นใหม่องค์หนึ่ง ตั้งพระพุทธรูปใน แบบ... ผ้าที่ห้อยจากขอบเรียกกันว่า ระบาย เรื่อยมา มีผู้สันนิษฐานว่า ค� ำว่า ระบาย มาจาก ค� ำว่า รํภาย ในภาษาเขมรซึ่งแปลว่า ผ้าระบาย อย่างไรก็ดี ในเมื่อค� ำนี้เคยใช้ว่า ระใบ ก็ชวนให้คิดว่า ค� ำนี้เป็นค� ำไทย มาจากค� ำว่า ใบ ซึ่งเติมพยางค์ ระ หน้าค� ำ ๔) สามหาว ค� ำว่า สามหาว หมายถึง หยาบคาย แต่เดิมมาค� ำนี้เขียนว่า ส� ำหาว เช่น พระไอยการ ลักษณวิวาท ตี ด่า ใน กฎหมายตราสามดวง มีข้อความว่า “ถ้าเจ้าบ้านฟันแทงผู้รุกถึงตายจเอาโทษเจ้าบ้าน เจ้าเรือนนั้นมิได้ เพราะมัน ส� ำหาว ธรนงศักดิรุกที่รุกแดนท่าน...” กัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=