สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ความส� ำคั ญของการสะกดค� ำในเอกสารเก่า 120 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 ค� ำว่า ไผ่ผอม นี้ บางทีก็สับล� ำดับของค� ำ ใช้ว่า ผอมไผ่ เช่น “นิราศพระยามหานุภาพ ไปเมืองจีน” มีว่า “อันพวกผู้อยู่ขายจ� ำหน่ายของ แต่นั่งตรองนอนตรอมจน ผอมไผ่ ” นอกจากนั้น ใน โคลงนิราศพระยาตรัง ก็มีโคลงพรรณนาความเศร้าโศกจน “ผอมไผ่” ต่างกับ ไผ่ที่ไม่ผอม ดังนี้ มลักเห็นเกาะไผ่เศร้า โศกตรอม ใจเอย ไผ่บ่ผอมเรียม ผอม ไผ่ เศร้า การเปรียบเทียบในโคลงดังกล่าวชวนให้สันนิษฐานว่า ไผ่ผอม หมายถึง ผอมเหมือนไผ่ แต่เมื่อต่อมาค� ำว่า ไผ่ ออกเสียงยาวเป็น ผ่าย ก็ดูเหมือนว่าค� ำว่า ผ่าย เติมหน้าค� ำว่า ผอม เพื่อเพิ่มพยางค์ ของค� ำโดยที่ ผ่าย ไม่มีความหมายแต่อย่างใด ๓) ระบาย ค� ำว่า ระบาย ที่หมายถึง ผ้าที่ห้อยจากขอบ เดิมออกเสียงพยางค์หลังเป็นเสียงสั้นว่า ระใบ ค� ำนี้ พบตั้งแต่สมัยสุโขทัย ไตรภูมิพระร่วง พรรณนาถึงไพชยนตรถในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ว่า “รถนั้นเทียรย่อม ทองค� ำแลประดับด้วยแก้วสัตตพิธรัตนะ แลมีสร้อยมุ (ก) ดาห้อยย้อยลง แลมีดอกไม้ทิพย์กรองเป็นมาลัย แลมีทั้งแก้วแลทั้งทองห้อยย้อยลงทุกภาย แลมี ระไบ แก้ว แลพรวนทองอันมีรัศมีรุ่งเรืองดั่งสายอินธนู...” ค� ำว่า ระใบ ซึ่งบางทีเขียนเป็น ระไบ มีใช้เรื่อยมา พบได้ในหนังสืออื่น ๆ อีก เช่น “ต� ำราพิไชยสงครามไทย” มีว่า...แล้วให้ดาษเพดานด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์ มุม ระใบ ย่อมปิดทองสิ้น “นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน” มีว่า เอาพระวิมุติธรรม์เป็นคันฉัตร เอาพระสัจเป็น ระไบ ไพศาล อย่างไรก็ตาม สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ค� ำว่า ระใบ เขียนเป็น รบาย หรือ ระบาย ก็มี เช่น “ลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตรา” พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีว่า สอง...สุรัดไว้ ในพนัก สองเล่มกระบี่หนังฝัก ผูกหมั้น พิดานวิลาศลักษณ์ ลายเสวตร ศรีเอย รบาย เพลาะแพรสองชั้น เฉอดฟ้าฟูโพยม การที่ออกเสียงค� ำว่า ระใบ เป็น ระบาย ท� ำให้สับสนกับค� ำว่า ระบาย ที่หมายถึง ถ่ายออก และ แต้มสี พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เขียนถึงความแตกต่างระหว่าง ระใบ กับ ระบาย ไว้ใน “ปกีระณ� ำพจนาดถ์” ว่า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=