สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

นววรรณ พั นธุเมธา 119 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ ในสมัยอยุธยา ค� ำนี้เขียนว่า ใบศรี ดัง “ต� ำราพิไชยสงครามไทย” มีว่า ถ้าผู้ใดจะเรียน, ใบศรี หัวหมู เงิน ๖ บาท เทียนเงิน เทียนทอง ขันผ้าขาวจึ่งจะประสิทธิ์แล อาจาริย์ท่านให้นะมัศการเสียก่อน จึ่งเรียนเถิด พจนานุกรมสมัยรัตนโกสินทร์ก็เขียนค� ำนี้ว่า ใบศรี ดังอักขราภิธานศรับท์ มีว่า ใบศรี, คือของที่คนเอาใบกล้วยมาเย็บท� ำเปนกลีบ ๆ, แล้วเย็บติดต่อกัน เข้าเปนชั้น ๆ, ส� ำรับหนึ่งสามชั้นบ้าง, ห้าชั้นบ้าง, เปนเครื่องท� ำขวัน. และ ศริพจน์ภาษาไทย์ มีว่า ใบศรี Banana-leaves to adorn the presents to the genii. นอกจากนั้น พจนานุกรมภาษาไทยถิ่นเหนืออันได้แก่ พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับ แม่ฟ้าหลวง ก็มีค� ำ ไบสรี ให้ความหมายว่า ไบสรี น. บายศรี-เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญท� ำด้วยใบตองและมีเครื่องสังเวย ควรเขียน บายสรี (ขอม-บาย-ข้าว+สรี-มงคล คือ ข้าวขวัญ) เห็นได้ว่า ในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ ค� ำว่า บาย ในบายศรี ออกเสียงสั้นเป็น ใบ และเมื่อออกเสียงว่า ใบ แล้ว ก็เน้นว่า บายศรีท� ำด้วยใบตอง ต่อมาค� ำว่า บาย ในบายศรี กลับมาออก เสียงยาวอย่างเดิม ถือว่ามาจากภาษาเขมร ดัง ปทานุกรมส� ำหรับนักเรียน ของกรมต� ำรา ให้ความหมาย ของค� ำ บาย และ บายศรี ว่า บาย ข. น. เข้า. บายศรี น. เข้าอันเป็นสิริ, เข้าขวัญ. ๒) ผ่ายผอม ค� ำว่า ผ่ายผอม มีความหมายเหมือนค� ำว่า ผอม ใช้กับคน แต่เดิมค� ำนี้ใช้ว่า ไผ่ผอม ดัง ก� ำสรวลศรีปราชญ์ มีโคลงว่า จากมาแก้วพึ่งแผ่ ใจรัก มาแม่ ยยวอยู่เลว ไผ่ผอม ผ่าวไส้ จานศรีส�่ ำลักใคร สะกิดอ่อน อวลแม่ รยมร�่ ำไห้หาเจ้า ช�่ ำงาย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=