สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรมเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ความส� ำคัญของการสะกดค� ำในเอกสารเก่า * นววรรณ พันธุเมธา ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ การสะกดค� ำบางค� ำในเอกสารเก่าท� ำให้สันนิษฐานได้ว่า ค� ำเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงเสียง เสียงที่เปลี่ยนแปลงอาจเป็นเสียงสระ พยัญชนะ หรือวรรณยุกต์ หลักฐานจากการสะกดค� ำแสดงว่า เสียงสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงพยัญชนะควบกล�้ ำบางเสียงเคยมีอยู่ในภาษาไทย แต่ได้สุญไปในปัจจุบัน นอกจากนั้น การสะกดค� ำบางค� ำในเอกสารเก่ายังช่วยในการพิจารณาที่มาของค� ำ ค� ำเหล่านั้นอาจเป็น ค� ำไทยเองหรือค� ำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ค� ำส� ำคัญ : การสะกดค� ำ, เอกสารเก่า ภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ค� ำบางค� ำเคยออกเสียงอย่างหนึ่ง ต่อมาอาจเปลี่ยนเสียงไป ค� ำที่บันทึกไว้ในเอกสารและวรรณคดีบางเรื่องช่วยให้สันนิษฐานได้ว่า ในสมัยที่บันทึก ค� ำนั้น ๆ เคยออก เสียงต่างกับปัจจุบัน และบางกรณีการสะกดค� ำยังมีผลต่อการสันนิษฐานที่มาของค� ำได้อีกด้วย ดังจะกล่าว ต่อไปนี้ ๑. การสะกดค� ำกับการออกเสียงสระ เสียงสระที่จะกล่าวถึงมีทั้งเสียงสระที่บัดนี้อาจไม่มีในภาษาไทย และเสียงสระที่ยังมีอยู่ในภาษา ไทย แต่ได้เปลี่ยนเป็นเสียงอื่นในค� ำบางค� ำ ก. เสียงสระที่ปัจจุบันอาจไม่มีในภาษาไทย ได้แก่ เสียงสระที่ใช้เครื่องหมาย ใ แสดงในจารึก พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชมีทั้งเครื่องหมาย ใ และ ไ นี่น่าจะแสดงว่าในสมัยสุโขทัย สระที่ใช้เครื่องหมาย ใ และ ไ ออกเสียงแตกต่างกัน พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชจึงทรงประดิษฐ์เครื่องหมายแสดงเสียงไว้ แตกต่างกัน ผู้ที่ศึกษาค้นคว้าเรื่องเสียงสระที่ใช้เครื่องหมาย ใ แสดง เคยเทียบค� ำที่ไทยเขียนโดยใช้ เครื่องหมาย ใ กับค� ำนั้น ๆ ในภาษาตระกูลไทด้วยกัน และเขียนไว้ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=