สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ศรี สุรางค์ พูลทรั พย์ 115 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ อย่างไรก็ดี วรรณกรรมทั้ง ๓ ศาสนาที่กล่าวมานี้ ล้วนเน้นเรื่องการกระท� ำดี เน้นสัจจะหรือ ความจริงที่ควรตระหนัก การชี้ทางอาจมีวิธีการต่างกันไป แต่ล้วนเป็นทางเดียวกัน ภาษาอาจใช้ไม่ตรงกัน เพราะแต่ละศาสนามีภูมิหลังต่างกัน วัฒนธรรมต่างกัน นอกจากนี้ ความเคร่งศาสนายังท� ำให้คนเข้าไม่ถึงความจริง มีร้อยกรองบทหนึ่งของยูนุส เอมเร ที่กล่าวว่าความเคร่ง ศาสนาเป็นอุปสรรคซึ่งขวางกั้นความจริง : ผู้เคร่งศาสน์พลาดความหมายในสัจจะ ผู้สละโลกไม่ยอมปลอมชีพหลอน สัจจะพระเจ้านั้นเช่นสาคร กฎเกณฑ์ดุจเรือจรกลางสายชล คนส่วนใหญ่ไม่โดดลงมหาสมุทร กฎเกณฑ์ฉุดเขาไว้ใจสับสน ไม่ล่วงข้ามสู่ความจริงสิ่งสากล บรรดาคนอ่านคัมภีร์ขาดศรัทธา เขาวิจารณ์คัมภีร์ทั้งสี่ชุด ไม่เห็นจุดความจริงที่ใฝ่หา มัวติดข้องไม่เข้าประตูมา ถือศาสนาเคร่งไปไม่รู้จริง หากเราเคร่งศาสนาจนไม่ยอมอ่านวรรณกรรมหรือศึกษาวรรณกรรมศาสนาอื่น ๆ ก็อาจเข้าถึง ความจริงสูงสุดได้ยาก ทุกศาสนาล้วนสอนหนทางสู่ความจริงสูงสุด แต่มีวิธีการสอนหรือสื่อความหมาย ที่ต่างกัน เราควรเปิดใจให้กว้างในการแสวงหาสัจธรรม. หนังสืออ้างอิง ราชบัณฑิตยสถาน. พระธรรมบทจตุรภาค . กรุงเทพฯ : ๒๕๓๑. ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์. กวีนิพนธ์ยูนุส เอมเร . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔. Baldock, John. The Essence of Rumi . London: Arcturus Publishing Limited, 2006. Radhakrishnan, S. (translator). The Dhammapada . London: Oxford University Press, 1968. Srimad Bhagavad Gita . Delhi Cantt.: Shree Geeta Ashram, 1978.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=