สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สนั่ น รั ตนะ 7 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ บางจุดของการยึดชิ้นส่วนเข้าด้วยกันนั้น ไม่สามารถมองเห็นได้ครบทุกต� ำแหน่ง เนื่องจากปัจจุบันภายใน องค์พระพุทธรูปนั้นมีโครงสร้างของเหล็กสเตนเลสกลมเชื่อมต่อกันเป็นโครงสร้าง เพื่อเสริมความมั่งคง แข็งแรงขององค์พระพุทธรูปเมื่อคราวที่มีการเคลื่อนย้ายอัญเชิญองค์พระพุทธรูปจากศาลาหลังเก่า ขึ้นประดิษฐานบนฐานชุกชีในพระมหามณฑป ทุก ๆ ต� ำแหน่งของโครงสร้างเหล็กสเตนเลสที่เป็นมุม จะมีการพันผ้าหุ้มเพื่อป้องกันการกระแทกที่จะท� ำให้เกิดรอยช� ำรุดได้ หากเกิดอุบัติเหตุจากการเคลื่อนย้าย ผ้าที่หุ้มหนา ๆ หรือโครงเหล็กสเตนเลสภายในจะบดบังบางจุดของการยึดต่อส่วนประกอบองค์พระพุทธรูป ท� ำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ครบถ้วนทุกจุด แต่สิ่งที่ได้พบเห็นนั้นเป็นการสะท้อนถึงความรู้อันยิ่งใหญ่ของ ภูมิปัญญาบรรพชนไทยสมัยสุโขทัยที่มีความทันสมัยล�้ ำยุค ในพุทธศักราช ๒๕๓๔ พระพุทธมหาสุวรรณ- ปฏิมากรได้รับการบันทึกไว้ใน The Guinness Book of Reccords 1991 (37 th Edition) หน้า ๒๒๑ ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๔ ถึงความยิ่งใหญ่ว่าเป็นพระพุทธรูปทองค� ำที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดในโลก แปลความได้ว่า “ปูชนียวัตถุที่มีคุณค่ามาก เป็นพระพุทธรูปทองค� ำแท้ศตวรรษที่ ๑๕ หนัก ๕ ตันครึ่ง สูง ๓.๐๔ เมตร ประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย มีมูลค่าประมาณ ๒๑.๑ ล้านปอนด์ พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรหรือพระพุทธรูปทองค� ำสุโขทัยไตรมิตร องค์นี้ ประกอบด้วยสิ่งที่จัดว่าเป็นที่สุดของโลกไว้ถึง ๓ อย่างด้วยกัน คือ ๑. มีขนาดขององค์พระใหญ่มหึมา มีหน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๕ นิ้ว สูงถึง ๗ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว ๒. มีพระพุทธลักษณะที่อ่อนช้อยงดงามล�้ ำเลิศ สร้างขึ้นในสมัยที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีอายุจนถึงปัจจุบัน ๗๐๐ กว่าปี ๓. สร้างด้วยโลหะทองค� ำแท้ มีมูลค่าตามที่ถูกบันทึกไว้ในหนังสือกินเนสบุ๊คถึง ๒๑.๑ ล้านปอนด์” (พระมหามณฑปสถิตศรัทธาสถาพร, ๒๕๕๒ : ๘๖) การเขียนภาพทวารบาลที่บานประตูหน้าต่างพระมหามณฑป เป็นการสร้างศิลปกรรม ตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาเป็นประเพณีนิยม ยังคงใช้แนวความคิดตามคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิ ที่สมมติให้สถานที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูป คือ ที่ประทับของพระพุทธองค์บนเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลาง ของจักรวาล ภาพทวารบาลเป็นเสมือนเทพยดาที่คอยปกปักรักษาเขาพระสุเมรุให้ปลอดภัยจากภยันตราย ทั้งปวง หรืออีกนัยหนึ่งคือ เป็นเทพอารักษ์ที่คอยป้องกันภัยและสิ่งอัปมงคลไม่ให้ล่วงล�้ ำเข้าไปยังสถานที่ที่ พระพุทธองค์ประทับอันเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาอย่างสูงสุดของพุทธศาสนิกชนชาวไทย ซึ่งจะสถิตสถาพร ยั่งยืนนาน ณ พระมหามณฑป วัดไตรมิตรวิทยาราม แห่งนี้ตลอดไป.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=