สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ศรี สุรางค์ พูลทรั พย์ 109 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ จะเห็นได้ว่า ภควัทคีตาเป็นวรรณกรรมที่มีลักษณะต่างไปจากพระธรรมบทหลายประการ ประการแรกผู้อ่านจ� ำเป็นต้องรู้เรื่องมหากาพย์มหาภารตะพอสมควร เพื่อเข้าใจความหมายของภควัทคีตา ในขณะที่พระธรรมบทนั้นอ่านเข้าใจได้โดยไม่ต้องอิงพระไตรปิฎกส่วนใด แต่ผู้ที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับ พระพุทธศาสนาอยู่บ้างย่อมเข้าใจเนื้อหาในพระธรรมบทดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื้อหาในพระธรรมบท มีความตรงไปตรงมาและเข้าใจง่ายกว่าภควัทคีตา ซึ่งผู้อ่านควรมีความรู้เกี่ยวกับอุปนิษัทบางเล่ม เช่น กโฐปนิษัท (กฐะ + อุปนิษัท) ต้องมีความรู้เกี่ยวกับศาสนาฮินดูพอสมควร และที่ส� ำคัญ ต้องเข้าใจ ความหมายของค� ำว่า “ภักติ” หรือภักดี จึงจะเข้าใจร้อยกรองในบทที่ ๑๒ โศลกที่ ๖ และ ๗ ต่อไปนี้ ๑๒.๖ แต่ผู้อุทิศตนด้วยศรัทธา ต่อตัวข้าพร้อมถวายกรรมให้ประจักษ์ นบนอบต่อพระเป็นเจ้าด้วยใจภักดิ์ หมอบแทบตักด้วยใจมั่นไม่ผันแปร ๑๒.๗ ผู้ตั้งจิตแน่วตรงสู่ตัวข้า จงแน่ใจว่าข้าช่วยเจ้าได้แน่ ให้หลุดพ้นสังสารวัฏโดยเที่ยงแท้ จากความแก่ความตายสู่นิรันดร์ ในวรรณกรรมพุทธศาสนาไม่มีการเน้นเรื่องความภักดีต่อพระเป็นเจ้า เหตุที่พระพุทธศาสนา มิได้สอนเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าเรื่องพระเป็นเจ้ามีจริงหรือไม่ เป็นเรื่องที่ไม่อาจรู้ได้ เสียเวลาที่จะใช้เวลา หมกมุ่นถกเถียงกัน พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องกฎแห่งกรรมซึ่งสามารถเห็นจริงและเข้าใจได้ ต่างจาก ภควัทคีตา ซึ่งเน้นในบทที่ ๑๘ โศลกที่ ๗๑ ว่าผู้ฟังภควัทคีตาจะบรรลุความหลุดพ้นและเข้าสู่อ้อมอก พระเป็นเจ้า ๑๘.๗๑ ผู้ใดได้รับฟังด้วยศรัทธา ไม่กังขาก็จะพ้นจากความเขลา บรรลุความหลุดพ้นสู่อกเรา ผู้เป็นเจ้าเพราะกุศลผลบุญ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=