สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ศรี สุรางค์ พูลทรั พย์ 107 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ จากตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า ธรรมบทเป็นวรรณกรรมที่เข้าใจง่าย จดจ� ำได้ง่าย เพราะเป็นงานประพันธ์ที่ไม่เยิ่นเย้อ เข้าถึงแก่นหรือสาระด้วยการประหยัดถ้อยค� ำ และให้ความรู้ที่ควรรู้ ซึ่งน� ำไปปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ได้ ภควัทคีตา ถือเป็นส่วนหนึ่งของมหากาพย์มหาภารตะ แม้นักวิเคราะห์จะเชื่อว่าเป็นบทที่ แทรกเติมเข้าไปในมหากาพย์ภายหลัง เพื่อขยายความตรงจุดส� ำคัญของสงครามระหว่างฝ่ายปาณฑพ ซึ่งได้แก่ ยุธิษฐิระ ภีมะ อรชุน นกุล และสหเทพ กับฝ่ายเการพ ซึ่งมี ๑๐๐ องค์ มีทุรโยธน์เป็นหัวหน้า ฝ่ายปาณฑพถือเป็นตัวแทนฝ่ายธรรม ขณะที่ฝ่ายเการพเป็นตัวแทนฝ่ายอธรรม ในสงครามครั้งนี้ ทั้งฝ่าย ปาณฑพและเการพต่างไปขอความช่วยเหลือจากพระกฤษณะ ผู้เป็นญาติของทั้ง ๒ ฝ่าย พระกฤษณะ ก็ให้ความช่วยเหลือทั้ง ๒ ฝ่าย โดยให้เลือกระหว่างกองทัพของพระองค์ หรือตัวพระกฤษณะเองที่จะเป็น เพียงสารถีขับรถรบให้ และไม่จับอาวุธใด ๆ คือไม่ช่วยในการต่อสู้เลย ปรากฏว่าฝ่ายอธรรมคือฝ่ายเการพ เลือกกองทัพที่จะใช้ในการต่อสู้ คือเลือกความรุนแรง และการรบราฆ่าฟัน ส่วนฝ่ายธรรมะคือฝ่ายปาณฑพ เลือกพระกฤษณะ ซึ่งมาเป็นผู้ขับรถรบให้แก่อรชุน กษัตริย์ปาณฑพองค์ที่เก่งการรบที่สุด อรชุนเกิด ความลังเลใจ เมื่ออยู่ในสนามรบ ณ ทุ่งกุรุเกษตรและเผชิญหน้ากับฝ่ายตรงข้าม ซึ่งก็คือ ญาติพี่น้อง ครูอาจารย์ของอรชุนเอง อรชุนมีความหดหู่ไม่อยากรบ จึงปรึกษากับพระกฤษณะ ค� ำสนทนาระหว่าง พระกฤษณะกับอรชุนคือสาระของภควัทคีตา ซึ่งถือว่าเป็นค� ำของพระเป็นเจ้าที่ประทานให้แก่อรชุน เปรียบเสมือนค� ำสอนด้านจิตวิญญาณให้แก่มวลมนุษย์ เพื่อน� ำไปสู่ความหลุดพ้น ภควัทคีตาเขียนด้วย ภาษาสันสกฤต ดังนั้นความหลุดพ้นในภควัทคีตา จึงเรียกว่า นิรวาณ ไม่ใช่นิพพาน ซึ่งเป็นภาษาบาลี และใช้ในพระพุทธศาสนา ทางไปสู่นิรวาณ ก็มีส่วนคล้ายคลึงกับนิพพาน คือต้องดับกิเลสและไม่ท� ำสิ่งใด เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน แต่นิรวาณคือการไปรวมเป็นหนึ่งกับพระเป็นเจ้าด้วย ซึ่งต่างจากนิพพาน ในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ภควัตคีตาสอนทางไปสู่ความหลุดพ้นซึ่งมีหลายทาง แต่เน้นทางแห่งความภักดีต่อ พระเป็นเจ้า เพราะเชื่อว่าพระเป็นเจ้าจะช่วยน� ำผู้ภักดีต่อพระองค์ให้หลุดพ้น ถ้าผู้ภักดีท� ำงานโดยอุทิศ ผลงานแด่พระเป็นเจ้า ไม่หวังผลประโยชน์จากผลงานก็จะพ้นจากสังสารวัฏ ภควัทคีตามีทั้งหมด ๒๘ บท แต่ละบทมีชื่อระบุไว้ บทที่ ๑ คือ อรชุนวิษาทโยคะ บทที่ ๒๘ เป็นบทสุดท้าย ชื่อว่า โมกษะสังนยาสโยคะ ภควัทคีตาเป็นเสมือนค� ำสอนที่เป็นรูปธรรมมากกว่าคัมภีร์ศาสนาฮินดูบางเล่มที่อาจสอน เป็นนามธรรมมากเกินไป จนเกิดความไม่เข้าใจ เช่น ความหมายของ พรหมัน (Brahman) และอาตมัน ในคัมภีร์อุปนิษัท ถ้ามนุษย์ไม่เข้าใจว่าอาตมันคืออะไร หรือบูชาเทพต่าง ๆ โดยไม่บูชาพระเป็นเจ้าที่แท้จริง ก็ยังต้องวนเวียนอยู่ในวัฏสงสารดังกล่าวไว้ใน ภควัทคีตาบทที่ ๙ ๗ ๗ ค� ำกลอนในภควัทคีตา แปลโดยผู้เขียนทุกค� ำกลอน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=