สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ศรี สุรางค์ พูลทรั พย์ 105 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ ในที่นี้จะขอยกวรรณกรรมพระพุทธศาสนาที่ชื่อว่า ธรรมบท (Dhammapada) ซึ่งมีบทแปล เป็นภาษาไทยอยู่ในหนังสือ พระธรรมบทจตุรภาค ธรรมบทอยู่ในพระไตรปิฎกในขุททกนิกาย ภควัทคีตา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหากาพย์มหาภารตะ และ กวีนิพนธ์ ของยูนุส เอมเร ซึ่งถ่ายทอดปรัชญาซูฟี (Sufism) ของศาสนาอิสลามออกมาเป็นร้อยกรองภาษาเติร์ก วรรณกรรมทั้ง ๓ เรื่องนี้เป็นที่รู้จักกันมาก ในหมู่ผู้สนใจศึกษาปรัชญาศาสนา ธรรมบท เป็นวรรณกรรมในขุททกนิกาย ที่อยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎก ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน (หรือตะกร้า) ได้แก่ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ธรรมบทอยู่ในพระสุตตันตปิฎก เป็นร้อยกรองภาษาบาลีที่ประมวลค� ำสอนซึ่งเชื่อกันว่ามาจากพระพุทธพจน์ แบ่งเป็น ๒๖ หมวด มีทั้งหมด ๔๒๓ คาถา ราชบัณฑิตยสถานน� ำมาแปลและพิมพ์เป็นภาษาไทย “โดยจัดท� ำเป็น ๔ ภาค เรียกว่า พระธรรมบทจตุรภาค ประกอบด้วยภาคภาษาบาลีอักษรไทย ๑ ภาค แปลเป็นภาษาไทย ๑ ภาค ภาษาบาลี อักษรโรมัน ๑ และภาคแปลเป็นภาษาอังกฤษ ๑” ๑ พระธรรมบทจตุรภาคจัดท� ำขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ พ.ศ. ๒๕๓๐ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๕๓๑ เพื่อเผยแผ่พระพุทธพจน์ให้แพร่หลายไปทั่วโลก พระธรรม- บทจตุรภาคนี้ เริ่มด้วยหมวดที่ ๑ ยมกวคฺค : หมวดคู่ (Yamakavagga: The Pairs) และจบลงด้วย หมวดที่ ๒๖ พราหม̣ณวคฺค : หมวดพราหมณ์ (Brahmanavagga: The Brahmin) เนื้อหาในพระธรรมบทนี้เป็นที่ประทับใจของผู้ศึกษาพระพุทธธรรมมาก เพราะค� ำร้อยกรอง เป็นภาษาเรียบง่าย กินใจ และเข้าใจง่าย บ่อยครั้งใช้อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบให้เห็นกระจ่างชัด เช่น คาถาที่ ๑ ในหมวดที่ ๑ : ยมกวคฺค สิ่งทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ ส� ำเร็จจากใจ ถ้าคนมีใจชั่วเสียแล้ว จะพูดหรือท� ำก็พลอยชั่วไปด้วย เพราะการพูดชั่วท� ำชั่วนั้น ทุกข์ย่อมตามสนองเขา เหมือนล้อหมุนตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไปฉะนั้น ๒ ๑ ราชบัณฑิตยสถาน. พระธรรมบทจตุรภาค . กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๓๑. หน้า ๑๓. ๒ เล่มเดิม, หน้า ๗.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=