สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ภาพทวารบาลที่ พระมหามณฑป วั ดไตรมิ ตรวิ ทยาราม 6 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 เนื้อ หรือน�้ ำ หมายถึง สารที่เป็นทองค� ำจะมีความบริสุทธิ์มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เจือปน เช่น ทองเนื้อเก้าจะมีความบริสุทธิ์มากที่สุด ทองเนื้อสี่ หมายถึง ทองค� ำ ๑ บาท จะมีค่าเป็น ๔ บาท ทองเนื้อเจ็ดจะมีค่าของเนื้อทองรองจากทองนพคุณหรือทองเนื้อเก้า ขา หมายถึง เศษ ๑ ส่วน ๔ ของหนึ่งบาท ทองเนื้อเจ็ด น�้ ำสองขา มีความหมายว่า ทองค� ำชนิดนี้เป็นทองค� ำขนาดบริสุทธิ์ปานกลาง ทองค� ำหนัก ๑ บาท มีค่า ๗ บาท ส่วนค� ำว่า น�้ ำสองขา หมายถึง ๒ สลึง” (พระมหามณฑปสถิตศรัทธา สถาพร, ๒๕๕๒ : ๘๕) วิธีการหล่อแบบแยกชิ้นส่วนออกเป็น ๙ ชิ้น เป็นประโยชน์ต่อการเคลื่อนย้ายองค์พระพุทธรูป ที่มีน�้ ำหนักรวมกันมากถึง ๕,๕๐๐ กิโลกรัม เมื่อน� ำมาประกอบชิ้นส่วนรวมกันเป็นองค์พระปฏิมาที่สมบูรณ์ ในเรื่องนี้ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (อ้างใน ส.พลายน้อย, พระพุทธรูปส� ำคัญในประเทศไทย, ๒๕๔๕ : ๑๒๒) ได้กล่าวชื่นชมไว้ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ คอลัมน์เก็บเล็กผสมน้อย ความตอนหนึ่ง ว่า “ฝีมือช่างนั้นน่าสรรเสริญยิ่งนัก ทุกส่วนตั้งแต่พระเศียรลงมาถึงพระเพลาหาที่ติมิได้เลยทีเดียว พระพุทธรูปนี้ช่างโบราณได้ท� ำไว้ ถอดออกได้เป็นส่วน ๆ ถึงเก้าส่วน เพื่อสะดวกในการโยกย้ายที่ตั้ง และในการยกขึ้นตั้งประกอบกันได้เป็นองค์พระ คนโบราณที่ซุกซ่อนพระองค์นี้ไว้ ต้องรู้แน่ว่าวันใดวันหนึ่ง คนรุ่นหลัง อันเป็นลูกหลานของตนจะต้องค้นพบและเมื่อพบแล้วคงไม่ท� ำอย่างอื่น นอกจากน� ำองค์พระ ไปประดิษฐานไว้สักการบูชา ด้วยเหตุนี้จึงได้ท� ำเครื่องอะไหล่ไว้ในองค์พระด้วย ได้แก่ เส้นทอง ซึ่งมีไว้ ส� ำหรับใส่ตามรอยต่อส่วนต่าง ๆ ขององค์พระ ซึ่งเมื่อขันกุญแจสลักไว้สนิทแล้ว เส้นทองนั้นจะประสาน รอยต่อให้แลดูสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน พระพุทธรูปองค์นี้เรียกได้ว่าเป็นพระพุทธรูปทองค� ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก” การประกอบส่วนต่าง ๆ ทั้ง ๙ ส่วนเข้าเป็นองค์พระพุทธรูปที่งดงามสมบูรณ์นั้น ในระหว่าง ที่ผู้เขียนปฏิบัติงานเขียนภาพทวารบาล ได้มีโอกาสเข้าไปในห้องเล็ก ๆ ใต้ฐานชุกชีที่สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ส� ำหรับประดิษฐานองค์พระพุทธรูป ผู้เขียนได้พบเห็นวิธีการยึดส่วนประกอบชิ้นส่วนองค์พระพุทธรูป ต่าง ๆ เข้าด้วยกันตามที่ข้อความในเอกสารของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวถึง อาจจะเป็นเรื่อง การใช้เส้นทองประสานตะเข็บรอยต่อแต่ละชิ้นส่วน แต่หากมองจากด้านในจะเห็นแนวตะเข็บรอยต่อ เหล่านั้นมีแผ่นทองที่ช่างหล่อพระพุทธรูปเรียกว่า แส้ กว้างโดยประมาณ ๑ ฝ่ามือ ทาบซ้อนไปตาม ส่วนโค้งของตะเข็บรอยต่อภายใน รวมทั้งเจาะรูร้อยแกนใส่สลักยึดชิ้นส่วนเข้าด้วยกันให้แนบสนิทมั่นคง แข็งแรง ซึ่งสลักแต่ละชิ้นนั้นท� ำด้วยทองค� ำ มีขนาดโดยประมาณเท่าปลายนิ้วก้อย แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=