สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรมเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ศึกษาวรรณกรรมทางศาสนาเชิงเปรียบเทียบ : พระธรรมบท ภควัทคีตา และกวีนิพนธ์ ของยูนุส เอมเร * ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์ ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ วรรณกรรมทางศาสนามีความแตกต่างกันในวิธีการน� ำเสนอ โดยล้วนมุ่งชี้สัจธรรมที่เป็น แก่นแท้ของศาสนาที่หยิบยกมาเปรียบเทียบ ดังปรากฏในพระธรรมบทในพระพุทธศาสนา ภควัทคีตา ในศาสนาฮินดู และกวีนิพนธ์ของยูนุส เอมเร ในศาสนาอิสลาม วรรณกรรมดังกล่าวพยายามสื่อให้มนุษย์ เข้าใจถึงความจริงสูงสุดที่สามารถน� ำไปสู่ความหลุดพ้น ค� ำส� ำคัญ : พระธรรมบท, ภควัทคีตา, กวีนิพนธ์ของยูนุส เอมเร, ความจริงสูงสุด, ทางสู่ความหลุดพ้น เรามักได้ยินได้ฟังเสมอว่าทุกศาสนาสอนให้คนประพฤติดี ประพฤติชอบ เพื่อน� ำไปสู่สันติสุข สวรรค์หรือความหลุดพ้น ทุกศาสนามีคัมภีร์บรรจุหลักธรรมค� ำสอนให้ศึกษาและปฏิบัติตาม ในพระพุทธ- ศาสนา คัมภีร์หลักก็คือ พระไตรปิฎก ศาสนาฮินดูมีคัมภีร์เก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ที่สุด เรียกว่า พระเวท (Veda) มีมหากาพย์มหาภารตะ มหากาพย์รามายณะ คัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ และอื่น ๆ ศาสนาอิสลาม ก็มีคัมภีร์กุรอาน กฎหมายศาสนาที่เรียกว่า ชารีอะฮ์ เป็นต้น แต่คัมภีร์หลักดังกล่าวมีความยาวมากจน ไม่สามารถเจาะลึกได้ บางเรื่องมีวรรณศิลป์น้อยหรือใช้ภาษาที่ยากมาก จึงไม่เป็นที่แพร่หลาย ดังนั้น จึงมีเฉพาะวรรณกรรมศาสนาบางเรื่องหรือบางบทในเรื่องใหญ่ที่เป็นที่นิยมอ่านและศึกษากันมาก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=