สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สั นติ เล็กสุขุม 95 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ สรุป สภาพหลังสงครามเสียราชธานีครั้งสุดท้าย พระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยารกร้าง เหลือเพียง ซากฐาน ได้ผ่านการขุดตรวจตราในช่วงทศวรรษ ๒๔๕๐ ครั้นตั้งกรมศิลปากรและผ่านมาถึง พ.ศ. ๒๔๗๘ งานโบราณคดีรัดกุมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการส� ำรวจขุดแต่งระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๙ กระนั้น ซากฐาน ของโบราณสถานยังถูกซ�้ ำเติมเรื่อยมาจากการขุดรื้อหาสมบัติของมิจฉาชีพ ได้เพิ่มปัญหา เพิ่มค� ำถาม มากมาย จนหาค� ำตอบที่น่าพอใจไม่ได้ งานศึกษาบรรดาซากฐานทั้งหลายต้องอาศัยเอกสารจากทุกแหล่งที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรายงาน ผลการศึกษาทางโบราณคดีที่จ� ำเป็น น� ำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลจากการเดินส� ำรวจพื้นที่ และที่ขาดไม่ได้ คือ แบบอย่างของพระบรมมหาราชวังกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อประมวลเป็น “งานสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรม ในพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา ก่อนสิ้นยุคสมัย” เพื่อจัดท� ำแผ่นป้ายสันนิษฐาน (ขนาด๔๐x๘๐ เซนติเมตร) ติดตั้งตรงกับมุมมองซากโบราณ และหุ่นจ� ำลองรูปแบบสันนิษฐาน (สัดส่วน ๑ : ๑๒๐ บนพื้นที่ ๔x๔ เมตร ภายในอาคารโถงสร้างขึ้นในเขตพระราชวังโบราณ). ภาพที่ ๑ (๑) เจดีย์ประธาน ๓ องค์ วัดพระศรีสรรเพชญ์ (๒) ภาพลายเส้น (๓, ๔) ภาพสันนิษฐานรูปแบบคือมณฑปหลังคายอด ๑ ๒ ๓ ๔

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=