สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สนั่ น รั ตนะ 5 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ ๓. ภาพทวารบาลที่บานหน้าต่าง ๒ ช่อง ออกแบบเป็นภาพเทวดายืนแท่น ถือพระขรรค์ เป็นอาวุธ มีฉัตร ๕ ชั้น กั้นลวดลายประกอบพื้นหลังลักษณะเดียวกันกับลวดลายที่บานประตู ๔. ภาพทวารบาลที่บานประตูกรุฐานชุกชี ตั้งอยู่ด้านหลังฐานที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูป ทองค� ำ มีความสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ออกแบบเป็นภาพยักษ์ยืนแท่น ถือกระบองเป็นอาวุธ มีลวดลายประกอบพื้นหลังเป็นลายก้านขดพรรณพฤกษาลักษณะเดียวกันกับลวดลายที่ประตูหน้าต่าง ๕. ภาพทวารบาลด้านหลังบานประตูหน้าต่าง เขียนเป็นภาพทวารบาลคล้ายกับด้านหน้า แต่เปลี่ยนอิริยาบถของตัวภาพ พื้นหลังเป็นลายดอกไม้ร่วง มีที่มาจากภาพลายเส้นจ� ำหลักหินชนวน วัดศรีชุม และสีพื้นบานประตูหน้าต่างเป็นสีแดง ดังที่กล่าวมา ภาพทวารบาลเป็นความเชื่อที่ว่าเป็นผู้คุ้มครอง ปกป้อง คุ้มกันภัยต่าง ๆ ไม่ให้ล่วงล�้ ำ เข้าไปภายในบริเวณที่ส� ำคัญ ดังนั้น จุดมุ่งหมายของการสร้างพระมหามณฑปซึ่งเป็นศาสนสถาน อันศักดิ์สิทธิ์หลังนี้ คือ เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรหรือหลวงพ่อทองค� ำสุโขทัยไตรมิตร ที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี เป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองค� ำซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ลักษณะปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๕ นิ้ว มีความสูงจากฐานทับเกษตรถึงปลายยอดเกตุมาลา ๗ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว เป็นพุทธลักษณะที่งดงามอ่อนช้อยตามแบบศิลปะสมัยสุโขทัยในหมวดพระพุทธรูป สุโขทัยบริสุทธิ์ ลักษณะเด่นของพระพุทธรูปยุคนี้ คือ มีพระรัศมีเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง บางแนบเนื้อ ชายสังฆาฏิยาวลงมาถึงพระนาภี ที่ส่วนปลายมีลักษณะคล้ายเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ยาว ไม่เสมอกัน ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิราบอยู่บนฐานทับเกษตร เป็นหน้ากระดานเกลี้ยงเรียบไม่มีลวดลาย ตรงกลางของฐานเว้าเข้าหรือแอ่นเข้าด้านใน ลักษณะเด่น อีกประการหนึ่งของพระพุทธรูปองค์นี้คือ ใช้เทคนิคในการหล่อแยกชิ้นส่วนออกเป็น ๙ ชิ้น ถอดประกอบ ออกได้เป็นส่วน ๆ ดังนี้ ส่วนพระเศียรถึงพระศอ ๑ ส่วน ล� ำตัว ๑ ส่วน พระพาหา ๒ ข้าง ข้างละ ๓ ส่วน พระเพลา ๑ ส่วน นอกจากนี้ยังมีการแยกส่วนที่เป็นพระเกตุมาลา (รัศมี) ที่หล่อด้วยทองค� ำแท้อีก ๑ ชิ้น ในส่วนอื่น ๆ จะหล่อด้วยทองค� ำที่มีส่วนผสมเรียกว่า “เนื้อเจ็ด น�้ ำสองขา” ในเอกสารของวัดไตรมิตร วิทยารามมีค� ำอธิบายไว้ว่า “เนื้อทองค� ำ หรือน�้ ำทองค� ำ เป็นมาตราทองค� ำของไทยสมัยโบราณ ซึ่งตั้งไว้ตั้งแต่ทองค� ำ เนื้อสี่จนถึงทองค� ำเนื้อเก้า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=