สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พระเวทในสายตาแห่งพุทธปรั ชญา 92 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 จะเป็นเหตุให้เราเป็นเทพเจ้า.... เป็นคนธรรพ์ ...เป็นยักษ์ ...เป็นมนุษย์ อาสวะเหล่านั้นเราละได้แล้ว ถอนรากเสียแล้ว...หมดสิ้น ไม่มีทางเกิดขึ้นอีกต่อไปเปรียบเหมือนดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก เกิดในน�้ ำ เจริญในน�้ ำ แต่ตั้งอยู่พ้นน�้ ำ ไม่ถูกน�้ ำฉาบติดฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดในโลก เติบโตขึ้น ในโลก แต่เป็นอยู่เหนือโลก ไม่ติดกลั้วด้วยโลก ฉันนั้น : นี่แน่ะพราหมณ์ จงถือเราว่าเป็น “พุทธะ” เถิด” ๒๙ อนึ่ง พราหมณ์ได้สอนและพรรณนารูปร่างลักษณะของพระพรหมว่ามี ๔ หน้า ๘ กรนั่งเหนือดอกบัว แต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโดยให้ความหมายใหม่ว่าได้แก่ บุคคลผู้ประกอบด้วยคุณธรรม ๔ ประการ เรียกว่า พรหมวิหาร คือ ๑) เมตตา ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทุกถ้วนหน้าปราศจากความอิจฉา พยาบาท ๒) กรุณา เอ็นดู สงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ ปราศจากความโหดร้าย และความคิดเบียดเบียน ๓) มุทิตา พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข ปราศจากความริษยา และ ๔) อุเบกขา วางใจเป็นกลาง ปราศจาก ความล� ำเอียง ๓๐ คุณธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ ชื่อว่าเป็นคุณธรรมของพรหมซึ่งเป็นเทวดาชั้นสูงและ พระพุทธเจ้าทรงยกย่องบิดามารดา ว่าเป็นพรหมของบุตร เพราะบิดามารดามีอุปการะมากเป็นผู้บ� ำรุง เลี้ยงดูบุตรเป็นผู้แสดงโลกนี้แก่บุตร มีคุณธรรมแห่งพรหมนี้ ดังนั้น ความเป็นเทวดาหรือพรหมทุก ประเภทจึงขึ้นอยู่กับการประพฤติธรรมของมนุษย์ในชาตินี้ ๒. การปฏิวัติ (Revolution) การปฏิวัติในที่นี้ คือการเปลี่ยนแปลงที่พลิกรูปแบบหรือ การเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งความเชื่อ ค� ำสอน การยึดถือ และวิถีชีวิต ในสมัยพุทธกาลมีเจ้าลัทธิ ศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ถกเถียงโต้แย้งกันในประเด็นว่า อะไรคือความเป็นจริงสูงสุด ในทางโลกและ ทางธรรม จะบรรลุความจริงสูงสุดอันเป็นเป้าหมายของการปฏิบัติตามค� ำสอนนั้นด้วยวิธีอะไร ข้อโต้แย้ง ในการสนทนาเหล่านั้นที่สุดก็รวมลงในเรื่อง อัตตา หรือ พรหมัน เชื่อว่าเป็นปฐมกรของสรรพสิ่ง มีแต่ พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นที่ตรัสปฏิเสธอัตตานั้น ด้วยหลักไตรลักษณ์ และหลักอิทัปปัจจยตา แสดงให้เห็นการปฏิเสธค� ำสอนของพราหมณ์เรื่องเทพเจ้า ซึ่งเป็นความคิดสูงสุดที่ครอบคลุมระบอบ ทั้งหมดของลัทธิของพราหมณ์ ทรงปฏิวัติหักล้างค� ำสอนที่ว่าด้วยพรหมัน การศรุติ พราหมณ์ และการถือ ความศักดิ์สิทธิ์อิทธิปาฏิหาริย์ การถือฤกษ์ยามและการบูชายัญทั้งหมดนี้ด้วยการแสดงความจริงตาม หลักปฏิจจสมุปบาทและหลักไตรลักษณ์ ขณะเดียวกันก็ทรงให้เลิกการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งเหล่านั้น ให้ตั้ง หน้าสู้กับความจริงและมีเหตุผล พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นว่า มนุษย์ที่ยังมืดบอดถูกครอบคลุมด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน มองไม่เห็นสัจธรรม คือ ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม และไตรลักษณ์ มีความมืดมัวทาง ปัญญาและความกลัวเป็นพื้นฐานยังมองไม่เห็นสัจธรรม เมื่อถูกภัยคือความตายคุกคาม จึงสะดุ้งกลัว ๒๙ องฺ จตุกฺก.๒๑/๓๖/๔๘ ๓๐ องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๙๒/๒๕๒

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=