สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พระเวทในสายตาแห่งพุทธปรั ชญา 90 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 มาณพก็นิ่งเก้อเขิน ก้มหน้า” ๒๕ และใน มธุรสูตร มีแสดงข้อความโต้ตอบกันระหว่างพระมหากัจจายนะกับ พระเจ้ามธุรราชผู้ไปถามถึงมติของพราหมณ์ในเรื่องวรรณะ พระเถระจึงแสดงเหตุผลว่าการประพฤติกุศล กรรมบถเป็นเหตุให้คนเสมอกันดังนี้ “ในวรรณะ ๔ เหล่านี้ วรรณะเหล่าใด เป็นผู้มั่งมี วรรณะเดียวกันและ วรรณะอื่น ย่อมเข้าเป็นสาวกของวรรณะนั้น วรรณะใดประพฤติอกุศลกรรมบถ เมื่อตายไปย่อมเข้าสู่อบาย เสมอกันหมดไม่มีพิเศษ วรรณะใดประพฤติกุศลกรรมบถ เมื่อตายไปย่อมเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์ เสมอกันหมด ไม่มีเว้นวรรณะใดท� ำโจรกรรมท� ำปทารกกรรม (ล่วงละเมิดภริยาผู้อื่น) วรรณะนั้นย่อมรับอาชญาเหมือน กันหมด ไม่มีเว้น วรรณะใดออกบวช ตั้งอยู่ในศีลธรรม วรรณะนั้นย่อมได้รับความนับถือ ได้รับการบ� ำรุง และได้รับการคุ้มครองรักษาเสมอกันหมดไม่มีเว้น” ๒๖ ในเรื่องพราหมณ์ไม่เคยเห็นพระพรหมนั้น ตอนหนึ่ง ใน เตวิชชสูตร เล่าว่า มาณพทั้งสองคือวาเสฏฐะและภารัทวาชะนั้น ยืนยันว่า แม้พราหมณ์จะบัญญัติทาง เข้าถึงพระพรหมต่าง ๆ กัน แต่ก็สามารถน� ำผู้ปฏิบัติตามเข้าถึงพระพรหมได้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามว่า มีพราหมณ์ผู้รู้ไตรเวทสักคนหนึ่งไหมที่เคยเห็นพระพรหม กราบทูลว่า ไม่มี ตรัสถามว่าอาจารย์ผู้รู้ไตรเวท มีสักคนหนึ่งไหมที่เคยเห็นพระพรหม กราบทูลว่า ไม่มี ตรัสถามว่าอาจารย์ของอาจารย์ของพราหมณ์ พวกนั้น มีสักคนหนึ่งไหมที่เคยเห็นพระพรหม กราบทูลว่า ไม่มี ตรัสถามว่า ใครคนใดคนหนึ่ง ๗ ชั่วยุค อาจารย์ของพราหมณ์ มีไหมที่เคยเห็นพระพรหม กราบทูลว่า ไม่มี ตรัสถามว่า ฤาษีรุ่นก่อน ๆ ที่แต่งมนต์ ร่ายมนต์ซึ่งพราหมณ์ผู้รู้ไตรเวทในสมัยนี้เล่าเรียนท่องบ่นตามบทแห่งมนต์นั้น เช่น อัฏฐกะ วามกะ มีใคร บ้างเคยกล่าวว่าตนรู้เห็นว่าพระพรหมอยู่ในที่ใด อยู่อย่างไร อยู่ที่ไหน กราบทูลว่า ไม่มี จึงตรัสสรุปว่า เหมือนคนตาบอดจูงคนตาบอดทั้งคนต้น คนกลาง คนสุดท้ายต่างก็มองไม่เห็น พราหมณ์ผู้รู้ไตรเวททั้ง คนต้น คนกลาง และคนสุดท้ายก็ไม่เคยเห็นพระพรหม ค� ำกล่าวของพราหมณ์เหล่านั้นจึงว่างเปล่า ไม่เคยเห็นพระพรหมแต่แสดงทางไปสู่พระพรหม เหมือนชายผู้รักหญิงงามในชนบท แต่ไม่รู้ว่าเป็นใคร ชื่ออะไร รูปร่างเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน หรือเหมือนคนที่ตั้งบันไดขึ้นสู่ปราสาทในทาง ๔ แพร่ง แต่ไม่รู้ว่า ปราสาทนั้นอยู่ที่ไหน อย่างนี้ พราหมณ์เหล่านั้นแม้ตายไปก็ไม่รู้จักพระพรหม แล้วตรัสว่าด้วยการฟัง ธรรม ออกประพฤติพรหมจรรย์ ละนิวรณ์ ๕ แผ่เมตตาจิตไปสู่ทิศทั้งสี่ ว่าเป็นทางเข้าสู่ความเป็นพรหม ในเรื่องของเทพเจ้านั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องเทพไว้หลายประเภทรวมทั้งประเภทที่มนุษย์อาจ เป็นได้ในชาติปัจจุบันนี้ ไม่ใช่เทวดานิรันดรที่มนุษย์ไม่อาจเป็นได้ ทรงแสดงคุณธรรมแห่งความเป็นเทพ ในชาตินี้ ด้วยหลักเทวธรรม ใน ขุททกนิกาย ทรงแสดงเทพหรือเทวดาว่ามีอยู่ ๓ ประเภทที่แตกต่างกันโดย คุณธรรมคือ ๑) สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ ได้แก่ พระราชา พระราชินี พระราชกุมาร และพระราชกุมารี ๒๕ ที.ปาฏิ.๑๑./๓๒๑/๘๗ ๒๖ ม.ม.๑๓/๓๓๒/๔๒๙

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=