สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เดื อน ค� ำดี 87 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ที่ท� ำหน้าที่สัปเหร่อ หรือคนรับใช้ที่ล้างส้วมก็ตาม ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ย่อมเสมอกันในโลกทิพย์” และว่า “พระเวทก็ตาม ชาติสกุลก็ตามพวกพ้องก็ตามมิใช่เพื่อสัมปรายภพ ศีลที่บริสุทธิ์ของตนต่างหาก น� ำความสุขในสัมปรายภพมาให้” ๒๑ และใน มัชฌิมนิกาย พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า “กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร ถ้ามีคุณธรรมแล้วก็ชื่อว่าเสมอกันโดยทรงเปรียบว่า ถ้าจะน� ำไม้สาละ ไม้มะม่วง ไม้มะเดื่อ ที่แห้งมาเผาไฟ ผลคือ เปลวไฟ สีของไฟ และแสงไฟที่เกิดขึ้น ก็ไม่ต่างอะไรกัน” ๒๒ และตรัสแก่อัมพัฏฐ- มาณพว่า “ในหมู่คนผู้ถือเรื่องโคตร กษัตริย์นับเป็นผู้ประเสริฐสุด แต่ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยความรู้และ ความประพฤติ ย่อมเป็นผู้ประเสริฐสุดในเทวดาและมนุษย์” ๒๓ ใน เรื่องวรรณะ ที่พวกพราหมณ์กล่าวว่า วรรณะพราหมณ์เป็นวรรณะที่สูง เกิดจากปากของ พรหมัน และบริสุทธิ์ประเสริฐที่สุดในบรรดาวรรณะทั้งหมด แต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นก� ำเนิด พราหมณ์และศูทรว่า เป็นมาอย่างไรไว้ใน อัคคัญญสูตร ตอนหนึ่งว่า “ยังมีคนบางกลุ่มออกบวชมุ่งลอยธรรม ที่ชั่วที่เป็นอกุศล จึงมีนามว่า พราหมณ์ (ผู้ลอยบาป), สร้างกุฎีหญ้าขึ้น เพ่งในกุฎีนั้น จึงมีนามว่า ฌายกะ (ผู้เพ่ง); บางคนไปอยู่รอบหมู่บ้านรอบนิคม แต่งต� ำรา แต่งพระเวท และสอนให้ผู้อื่นสวดสาธยาย คนจึง กล่าวว่า ไม่เพ่ง ได้นามว่า อัชฌายกะ (ผู้ไม่เพ่ง) จึงเกิดขึ้นยังมีคนบางกลุ่ม ถือการเสพเมถุนธรรม ประกอบการงานเป็นส่วน ๆ จึงมีชื่อว่า เวสสะ (แพศย์) ยังมีคนบางกลุ่ม ถือการเสพเมถุนธรรม อาศัย การล่าสัตว์เลี้ยงชีวิตจึงมีชื่อว่าศูทร” ครั้นแล้วตรัสอีกว่า “ทั้งพราหมณ์ แพศย์ ศูทร ก็เกิดจากพวกคน พวกนั้น มิใช่เกิดจากคนพวกอื่น เกิดจากคนที่เสมอกัน มิใช่เกิดจากคนที่ไม่เสมอกัน เกิดขึ้นโดยธรรม มิใช่เกิดขึ้นโดยอธรรม” แสดงว่าการแบ่งชั้นวรรณะนั้น ในชั้นเดิมมิได้มาจากหลักการอื่น นอกจากการ แบ่งงานหรือแบ่งหน้าที่กันตามความสมัครใจ แล้วก็ไม่ใช่ว่าใครวิเศษกว่าใครมาแต่ต้น แท้จริงก็คน ชั้นเดียวกันมาแต่เดิม ทั้งนี้เป็นการท� ำลายทิฏฐิมานะ ช่วยให้ลดการดูหมิ่นกันและกัน เป็นการปฏิเสธ หลักการของพราหมณ์ ที่ว่าใครเกิดจากส่วนไหนของพระพรหม ซึ่งสูงต�่ ำกว่ากัน ครั้นแล้วตรัสถึง ความประพฤติสุจริตและทุจริตว่าเป็นเหตุให้คนเป็นตรงกันข้ามว่า “ทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร และสมณะ ถ้าประพฤติทุจริตทางกาย, วาจา, ใจ, มีความเห็นผิด, ประกอบกรรมซึ่งเกิดจากความเห็นผิด เมื่อตายไป ก็จะเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก เหมือนกัน ถ้าตรงกันข้าม คือประพฤติสุจริตทางกาย, วาจา, ใจ มีความเห็นชอบ, ประกอบกรรม ซึ่งเกิดจากความเห็นชอบ เมื่อตายไป ก็จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เหมือนกัน หรือถ้าท� ำทั้งสองอย่าง (คือชั่วก็ท� ำดีก็ท� ำ) ก็จะได้รับทั้งสุขทั้งทุกข์เหมือนกัน อนึ่ง วรรณะ ๒๑ อง.ขุ./๒๗/๑๗๕ ๒๒ ม.ม./๑๓/๓๒๕/๕๑๗ ๒๓ ที.สี.๙/๓๔/๑๑๗

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=