สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พระเวทในสายตาแห่งพุทธปรั ชญา 86 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 มีความรู้จบเวท อยู่จบพรหมจรรย์แล้วไม่มีความพอง (เย่อหยิ่ง) คือ ความพองเพราะราคะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ” ดังนี้ ตามพุทธอุทานนี้ จะเห็นว่า พราหมณ์ที่แปลว่าผู้ประเสริฐนั้นเป็นผู้ไม่มักตวาดใคร มีความส� ำรวม ไม่มีกิเลส อยู่จบพรหมจรรย์แล้วไม่มีความพองเพราะราคะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ คนเป็นพราหมณ์อยู่ที่กรรมหรือความประพฤติ และทุกคนในแต่ละวรรณะเกิดมาเสมอกัน ไม่มีใครต�่ ำ ใครสูงกว่ากัน ใครในวรรณะใดท� ำดี สมาทานศีล ก็เป็นคนดี คนในวรรณะใดท� ำชั่ว ทุจริตทางกาย ทาง วาจา และทางใจ ก็เป็นคนชั่วเสมอเหมือนกัน ใน วาเสฏฐสูตร ตรัสให้เห็นว่ากรรมท� ำให้คนเป็นอะไร แตกต่างกันดังนี้ “ดูกรวาเสฏฐะ ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยโครักขกรรมเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นชาวนา มิใช่ พราหมณ์ ...ผู้ใดเลี้ยงชีพด้วยศิลปต่าง ๆ ผู้นั้นเป็นศิลปิน ผู้อาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นพ่อค้า ผู้ใด เลี้ยงชีวิตด้วยการรับใช้ผู้อื่น ผู้นั้นเป็นคนรับใช้ ..ผู้ใดอาศัยการลักทรัพย์เลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นโจร ผู้ใดอาศัย ศรและศัตราเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นทหารอาชีพ ผู้ใดเลี้ยงชีพด้วยการเป็นปุโรหิต ผู้นั้นเป็นเจ้าหน้าที่การบูชา หาใช่พราหมณ์ไม่ ผู้ใดปกครองบ้านเมือง ผู้นั้นเป็นพระราชา หาใช่พราหมณ์ไม่ ฯลฯ เราเรียกคนที่ไม่มี กิเลสค้างใจ ไม่มีความถือมั่นว่าเป็นพราหมณ์ ...คนมิใช่เป็นพราหมณ์เพราะชาติก� ำเนิด แต่เป็นพราหมณ์ เพราะกรรม ไม่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม เป็นชาวนาก็เพราะกรรม (การงาน อาชีพ ความประพฤติ การด� ำเนินชีวิต) เป็นศิลปิน เป็นพ่อค้า เป็นคนรับใช้ เป็นโจร เป็นปุโรหิต และแม้แต่เป็นพระราชา ก็เพราะกรรม บัณฑิตทั้งหลายเห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรมและวิบาก ย่อมมองกรรมตามเป็นจริง อย่างนี้ โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม หมู่ประชาย่อมเป็นไปเพราะกรรม” ๑๙ และใน สังยุตตนิกาย ตรัสตอบ สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ผู้ถามพระองค์ว่า “พระองค์ชาติอะไร” ตรัสตอบว่า จงอย่าถามเรื่องชาติเลย จงถามถึงความประพฤติดีกว่า แล้วทรงแสดงหลักธรรมว่า “ไฟย่อมเกิดได้จากไม้ทุกชนิด ผู้รู้แม้เกิดใน ตระกูลต�่ ำ แต่เป็นผู้มีความเพียรเป็นผู้กันความชั่วด้วยความละอาย มีสัตย์ฝึกฝนตนก็เป็นคนอาชาไนยได้ ๒๐ และในสีลวีมังสชาดก ได้แสดงเรื่องหลักธรรมเปรียบเทียบระหว่างศีลกับชาติชั้นวรรณะ ด้วยค� ำของ พราหมณ์คนหนึ่งเช่นว่า “เราสงสัยว่าศีล (การประพฤติกาย วาจาเรียบร้อย) ประเสริฐกว่าหรือสุตะ (ความรู้ที่เกิดจากการเรียน การฟัง) ประเสริฐกว่า แล้วเราก็หายสงสัยแล้ว ว่าศีลประเสริฐกว่าสุตะ” ว่า “ชาติและวรรณะเป็นของเปล่า ศีลต่างหากที่เป็นของสูงสุด ถ้าไม่มีศีลแล้วสุตะ จะไม่มีประโยชน์ อะไร” และว่า “เป็นกษัตริย์ แต่ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เป็นพ่อค้าแต่ไม่อาศัยธรรม คนเหล่านั้นย่อมสละโลก ทั้งสองคือโลกสวรรค์และโลกมนุษย์เข้าถึงทุคคติ” ดังนั้น “กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล ๑๙ ม.ม.๑๓/๗๐๗/ ๖๔๓-๙ ๒๐ สํ.สคา.๑๕/๓๑๒/๒๔๖

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=