สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เดื อน ค� ำดี 85 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ตนเองที่แสดงให้เห็นความแตกต่างและปฏิพัฒนาการ (anti-thesis) ต่อลัทธิอื่นอย่างไร วิธีการสั่งสอน ธรรมของพระพุทธเจ้าอาจยกมาแสดงให้เห็นลักษณะเบื้องต้น ๓ ประการ ๑๘ คือ ๑) อภิญญายธัมมเทสนา ทรงสั่งสอนให้รู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น ทรงสั่งสอนธรรมที่ควรแก่การประพฤติปฏิบัติตามและ ให้เกิดความเลื่อมใสและมั่นใจในพระองค์อย่างแท้จริง ๒) สนิทานธัมมเทสนา ทรงสอนธรรมที่มีเหตุผล ที่ผู้ฟังอาจตรองตามเห็นจริงได้พิสูจน์ได้ไม่เลื่อนลอยและ ๓) สัปปาฏิหาริยธัมมเทสนา ทรงสั่งสอนธรรม เป็นอัศจรรย์ที่ผู้ปฏิบัติย่อมได้รับผลตามสมควรแก่การปฏิบัติด้วยให้มองเห็นชัดเจนสมจริงจนต้องยอมรับ ในการศึกษาถึงลักษณะการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างพระพุทธศาสนาในมิติแห่งปรัชญากับพระเวท นั้น จ� ำเป็นต้องมีกรอบหรือเครื่องมือส่องทางให้มองเห็นลักษณะที่แตกต่างและปฏิพัฒนาการ ในค� ำสอน ทั้ง ๒ ระบบนั้นอย่างไร ในบทความนี้ผู้น� ำเสนอได้ใช้หลักการ หรือกรอบ ๔ ประการ คือ การปฏิรูป (Reformation) การปฏิวัติ (Revolution) การประดิษฐานพรหมจรรย์ขึ้นใหม่ (Foundation) และ บูรณาการ (Integration) มาเป็นกรอบในการพิจารณาเพื่อแสดงให้เห็นขั้นการปฏิสัมพันธ์กันอย่างไรใช้ ๒ หลักการแรกมองถึงการปฏิสัมพันธ์กัน และใช้ ๒ หลักการหลังมองถึงปฏิพัฒนาการในระบอบพรหมจรรย์ ๑. การปฏิรูป (Reformation) คือ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ ในเรื่องเทพเจ้าเรื่อง พรหม และเรื่องพราหมณ์และวรรณะพราหมณ์พระพุทธเจ้า ไม่ทรงปฏิเสธโดยสิ้นเชิง แต่แปลความเสีย ใหม่ในเชิงอนุโลม กล่าวคือ ทรงดัดแปลงของเก่าที่ยังไม่ดีให้ดีขึ้นให้เหมาะสมัยและสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น ในเรื่อง ความเป็นพราหมณ์ ที่พระเวทสอนว่า ผู้จะเป็นพราหมณ์ได้ต้องเกิดในวรรณะพราหมณ์ เท่านั้น ซึ่งเป็นวรรณะสูงประเสริฐที่สุด เหตุเกิดมาจากปากพระพรหมนั้น พระพุทธเจ้าไม่ทรงปฏิเสธว่า ไม่มีพราหมณ์ แต่ทรงอนุโลมโดยเปลี่ยนแปลงให้ความหมายใหม่ ทรงอธิบายให้เห็นว่า ย่อมมีพราหมณ์ และวรรณะพราหมณ์ ในโลกนี้ตามที่สอนกันมาและที่ถือกันอยู่ขณะนั้น พราหมณ์นั้นเกิดจากนางพราหมณี ไม่ใช่เกิดจากปากพระพรหมและวรรณะพราหมณ์กับวรรณะอื่นก็เสมอกัน และไม่ได้ประเสริฐกว่าวรรณะ อื่นตามที่เชื่อกันมาแต่ส� ำหรับพระองค์แล้ว ทรงเห็นว่าคนจะเป็นพราหมณ์หรือเป็นผู้ประเสริฐได้นั้นก็เพราะ กรรมหรือการฝึกฝนอบรมกายวาจาใจผู้อบรมตน ประพฤติดีงามทางกายวาจาใจชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ไม่ใช่เป็นพราหมณ์โดยชาติและโคตร เรื่องต่าง ๆ ตามที่สังคมพราหมณ์ยึดถือปฏิบัติกันอยู่ตามพระเวท มาแต่เดิมนั้น ก็ทรงอนุโลมตามภาษาและการยึดถือของพวกพราหมณ์ แต่ทรงเปลี่ยนความหมายใหม่ดังที่ ตรัสกับพราหมณ์คนหนึ่งที่ชอบตวาดผู้คน ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธเมื่อตอนตรัสรู้ใหม่ ๆ ทรงเปล่งอุทานเป็น ใจความว่า “ผู้ที่จะนับว่าเป็นพราหมณ์คือ ผู้ลอยบาป ไม่มักตวาดคน ไม่มีกิเลสเหมือนน�้ ำฝาด ส� ำรวมตน ๑๘ ม.ม.๑๓/๓๓๐/๓๒๒

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=