สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พระเวทในสายตาแห่งพุทธปรั ชญา 84 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 เมื่อตายแล้วจะไปสู่ยมโลกเสวยความทุกข์ตามผลกรรมชั่วของตน เมื่อพ้นจากยมโลกแล้วหากมาเกิดเป็น มนุษย์อีกก็จะเกิดในตระกูลต�่ ำ เช่น ตระกูลศูทร จัณฑาล หรือไม่ก็เป็นสัตว์เดรัจฉาน เช่น สุนัข หมู แมว แพะ แกะ เป็นวัฏจักร วนเวียนอยู่อย่างนี้ในระหว่างมนุษย์กับพระเป็นเจ้าตราบเท่าจะเข้าถึงโมกษะ กรรมและสังสาระจึงสิ้นสุดลง โมกษะ (Salvation) คือ ความหลุดพ้นจากกรรม อวิทยา และสังสาร เป็นภาวะแห่ง ความเป็นเอกภาพกับพรหมัน เป็นอุดมการณ์สูงสุดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผู้หลุดพ้นถือว่าได้ท� ำกิจของ ชีวิตอย่างเสร็จสิ้นสมบูรณ์ เข้าถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า ใน คัมภีร์เวทานตะ ได้แสดงความหมาย ของโมกษะไว้ว่า หมายถึง การสิ้นสุดการเกิดใหม่ กล่าวคือ เมื่ออาตมันซึ่งมีสารัตถะ (Essence) อย่างเดียว กับพรหมัน เมื่อมาสัมพันธ์กับวัตถุ (ร่างกาย) ก็ถูกวัตถุจ� ำกัดพลังอ� ำนาจเดิมจึงท� ำให้เกิดตัณหา อุปาทาน ชักน� ำให้ท� ำทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว (อวิทยา) จนกลายเป็นเครื่องพันธนาการ (Bondage) ให้ต้องเวียนว่าย ตายเกิดในลักษณะออกจากร่างเก่าไปเข้าร่างใหม่เรื่อย ๆ ที่เรียกว่า สังสาร ไปจนกว่าอาตมันจะรู้แจ้ง ความจริงว่าตัวแท้ตัวจริงของอาตมันไม่ใช่ร่างกายจึงก� ำจัดอุปาทาน ความยึดมั่นในร่างกายลงเสียได้ด้วย ปฏิบัติโยคะทั้งสาม คือ กรรมโยคะการประกอบกรรมดี ภักติโยคะ การถวายตนต่อเทพเจ้าด้วยศรัทธา และชญาณโยคะการศึกษาพระเวทและสั่งสอนพระเวท ดังนั้น โมกษะจึงหมายถึงการหลุดพ้นของชีวาตมัน หรือวิญญาณจากพันธนาการของกิเลสและอุปาทาน กลับไปมีความบริสุทธิ์เหมือนเดิม คือการกลับไปเป็น หนึ่งเดียวหรือความเป็นเอกภาพกับพรหมัน พรหมจรรย์ : บ่อเกิดพุทธปรัชญาและกรอบการมองพระเวท เนื่องจากพระเวทอุบัติขึ้นก่อนพระพุทธศาสนาหรือพุทธปรัชญาประมาณไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ปี ขึ้นไปย่อมมีค� ำสอน ข้อเชื่อ และเหตุผลที่ประกาศอยู่แล้วจนครอบคลุมสังคมภารตะ และแผ่ไปทั่วชมพูทวีป ความคิดข้อเชื่อเป็นเชิงศาสนาและปรัชญาย่อมมีเอกลักษณ์ที่ท� ำให้ข้อเชื่อและการปฏิบัตินั้นแสดงออก เป็นศาสนาเรียก ศาสนาพระเวทบ้าง ศาสนาพราหมณ์บ้าง ศาสนาฮินดูบ้าง หรือเรียกรวมกันว่า ศาสนา พราหมณ์-ฮินดู ซึ่งยึดถือเอาค� ำสอนในคัมภีร์พระเวทเป็นศูนย์กลางศาสนา และการปฏิบัติทางศาสนา ก็กลายเป็นวิถีชีวิตของชาวฮินดูปัจจุบัน พระพุทธศาสนา หรือพุทธปรัชญา คือ ผลการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เดิมทรงเรียกว่า พรหมจรรย์ หรือธรรมวินัย บางครั้งก็เรียกว่า สัทธรรม ในฐานะปรัชญา อุบัติขึ้นมาภายหลังพระเวท ก็ย่อมได้รับอิทธิพลของพระเวทไปด้วย ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ในท่ามกลางสังคมพราหมณ์ขณะนั้น แต่ เมื่ออุบัติขึ้นมาแล้วย่อมจะต้องมีทิฏฐิ วิธีการปฏิบัติ ตามค� ำสอนและจุดหมายหรืออุดมการณ์ เป็นของ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=