สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เดื อน ค� ำดี 83 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ใน คัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ นอกจากการกระท� ำที่เรียกว่า กรรม ในความหมายของจริยธรรม หรือหน้าที่ตามวรรณะเป็นหลักแล้ว ยังได้ก� ำหนดยัญพิธีที่ผู้ครองเรือนจะต้องปฏิบัติเป็นกรรมดีนอกเหนือ จากการบูชายัญ ๔ ประเภทที่ว่าด้วยการฆ่าสัตว์และฆ่าคนสังเวยเทพเจ้าไว้ ๕ อย่างคือ ๑) พรหมยัชญะ การบูชาพรหมัน ด้วยการศึกษาและการสอนพระเวท พร้อมด้วยการรักษาขนบประเพณีวัฒนธรรมและ ส่งผ่านไปยังลูกหลานอนุชนรุ่นต่อไป ๒) เทวยัชญะ การบูชาเทพเจ้าด้วยการใส่เครื่องสังเวยลงในไฟ ๓) ปิตฤยัชญะ การบูชาบรรพบุรุษผู้ล่วงลับด้วยการประกอบ “พิธีศราธ” เป็นการแสดงการระลึกถึง ความกตัญญูในบรรพบุรุษของตน ๔) ภูตยัชญะ การให้ทานแก่สรรพสัตว์ คนป่วย และคนขัดสน และ ๕) ปฏิสัณฐานะ การท� ำหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อมนุษย์ด้วยกันคือ การต้อนรับแขกที่มาเยือนอย่างจริงใจ การให้ที่พักแก่คนไร้ที่อยู่อาศัย และการให้ทานแก่พรหมจารี ใน คัมภีร์อุปนิษัท แสดงว่า “กรรมคือการด� ำเนินชีวิตไปตามอาศรม ๔ คือ ๑) พรหมจารยะ อาศรมะ เป็นพรหมจารี ปฏิบัติตนเป็นนักศึกษาพระเวทอย่างลึกซึ้ง ๒) คฤหัสถะ อาศรมะการแต่งงาน ครองเรือน ได้บุตรผู้ชาย ๓) วานปรัสถะ อาศรมะออกจากเรือนไปบ� ำเพ็ญพรตในป่า และ ๔) สันนยาสะ อาศรมะ การสละโลกีย์ออกจากเรือนบวชเป็นสันยาสี” ๑๗ ดังนั้น กรรมในพระเวทตามที่กล่าวมานี้ จึงหมายการปฏิบัติตนตามหน้าที่ในกฎของวรรณะทั้งสี่ ซึ่งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเป็นเจ้า หรือพรหมันโดยตรง เพราะเบื้องต้นของกรรมอยู่ที่พระเป็นเจ้า เบื้องกลางอยู่ที่มนุษย์ และเบื้องปลายหรือ จุดมุ่งหมายสูงสุดของการกรรม คือความเป็นเอกภาพกับพรหมันเรียก พรหมลิขิต ส่วน สังสาร การ เวียนว่ายตายเกิดใหม่ ใน คัมภีร์อุปนิษัท นั่นเอง อธิบายว่าเมื่อร่างกายแตกดับหรือตายไป วิญญาณหรือ ชีวาตมันจะเคลื่อนล่องลอยออกจากร่างเก่าไปอาศัยอยู่ในรูปร่างใหม่ แต่ก่อนออกจากร่างเก่าต้องหา ร่างใหม่ให้ได้เสียก่อนจึงจะทิ้งร่างเดิมไป ผลกรรมที่ดีและผลกรรมที่ชั่วที่ท� ำไว้ในอดีตก็จะตามไปด้วย คติของวิญญาณนั้น ใน คัมภีร์อุปนิษัท ก็กล่าวว่ามีทางไปเกิด ๒ ทาง คือ ๑) เทวยาน ทางสว่าง คือ ทางแห่งเทพ หรือ ส� ำหรับผู้บ� ำเพ็ญตบะเพื่อความรู้แจ้งในพรหมันเป็นทางอันเกษมโดยผ่านอากาศ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เข้าสู่โลกแห่งความเป็นเอกภาพกับพรหมันไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายอีก และ ๒) ปิตฤยาน ทางแห่งโลกปิดร มีคติเป็น ๒ โลก คือ ๑) โลกแห่งปิดรผู้ที่ท� ำกรรมดีชั้นสามัญ ตายแล้ว ชีวาตมันหรือวิญญาณจะด� ำเนินไปตามทางแห่งความมืดหรือควันไฟไปอยู่ในโลกแห่งปิดรระยะเวลาหนึ่ง เมื่อครบก� ำหนดแล้วก็จะกลับมาเกิดในโลกมนุษย์อีก โดยกลับมาทางเดิม ลงมาสิงสถิตอยู่ในพืชพรรณ ธัญญาหารเมื่อมนุษย์บริโภคเข้าไปก็ไปถือก� ำเนิดในร่างของมนุษย์ ส่วนผู้ท� ำกรรมดีชั้นสูง ก็จะไปเกิดในที่ดี เช่น เกิดในสกุลพราหมณ์ ในวรรณะกษัตริย์ ในวรรณะแพศย์ เท่านั้นและ ๒) ยมโลก ผู้ท� ำกรรมชั่วไว้มาก ๑๗ จัณโฑกิยะอุปนิษัท.๒:๒๓.๑

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=