สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
พระมหากรุณาธิ คุณด้านการบริ หารราชการแผ่นดิ นใน “ระบบราชการ” ของพระมหากษั ตริ ย์ แห่งพระบรมราชจั กรี วงศ์ 2 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ความน� ำ พระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์มีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นประมาณมิได้ต่อ ประชาชนชาวไทยและประเทศชาตินับตั้งแต่การสถาปนาพระบรมราชวงศ์จักรีวงศ์ปกครองบ้านเมืองและ การสถาปนากรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการบริหารบ้านเมืองนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ มาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา กว่า ๒ ศตวรรษแล้ว โดยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๕๕๙ มีพระมหากษัตริย์ปกครองบ้านเมืองมาแล้ว ๙ แผ่นดิน ทุกพระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติอาณาประชาราษฎร์อย่าง อเนกอนันต์ ซึ่งในบทความนี้เน้นกล่าวถึงเฉพาะด้านการบริหารราชการแผ่นดินในระบบราชการ ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในฐานะที่เป็นองค์ปฐมบรมราชจักรีวงศ์ ผู้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินแห่งใหม่แทนกรุงธนบุรี และ ทรงสถาปนาพระบรมราชวงศ์จักรีวงศ์ขึ้นปกครองประเทศ นับเป็นเส้นแบ่งมิติทางเวลาในประวัติศาสตร์ อย่างชัดเจนให้เห็นว่า ประวัติศาสตร์ของไทยได้ก้าวขึ้นสู่ยุคใหม่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ใหม่ ณ ศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินแห่งใหม่ แม้โครงสร้างและรายละเอียดส่วนใหญ่ของระบบบริหาร ราชการแผ่นดินจะยังสืบต่อแบบแผนจากปลายสมัยอยุธยา แต่ก็มีความเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของ ตัวระบบที่แตกต่างไปจากเดิม มีความชัดเจนของพระบรมราโชบายในการบริหารราชการแผ่นดินที่ทรง เห็นความส� ำคัญของการมีข้าราชการที่มีศักยภาพ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว ได้ปรากฏชัดเจนว่าในฐานะสมเด็จ พระมหากษัตริยาธิราช ทรงผสานพระปรีชาสามารถทั้งทางพลเรือนกับทางทหารเข้าด้วยกัน แต่ราชการฝ่าย พลเรือนของพระองค์นั้น ดูจะมีมากกว่าราชการฝ่ายทหารซึ่งมีเพียงในช่วงบ้านเมืองมีศึกสงคราม ราชการ ฝ่ายพลเรือนประการแรกสุดของพระองค์ที่จะเป็นพื้นฐานให้กับพระราชกรณียกิจในการวางรากฐานระบบ บริหารราชการแผ่นดินและการพัฒนาศักยภาพของข้าราชการแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พระราชกรณียกิจ ในฐานะองค์ปฐมบรมราชจักรีวงศ์ หรือที่ทรงได้รับการสดุดีพระเกียรติในฐานะ “พระผู้สร้าง” นั่นคือ การสถาปนาพระบรมราชจักรีวงศ์เป็นราชวงศ์ใหม่ เป็นประธานของการบริหารราชการแผ่นดินและศูนย์ รวมความจงรักภักดีของข้าราชการและอาณาประชาราษฎร์ การสถาปนาพระนครแห่งใหม่ส� ำหรับเป็น ศูนย์กลางการบริหารพระราชอาณาจักรให้คล้ายกับกรุงศรีอยุธยาศูนย์กลางเดิมอันรุ่งเรืองมายาวนาน ถึง ๔ ศตวรรษ การสถาปนาพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประทับของ พระมหากษัตริย์รวมทั้งศูนย์กลางการบริหารทั้งฝ่ายอาณาจักรและพุทธจักร ซึ่งพระราชกรณียกิจใน ฐานะ “พระผู้สร้าง” นี้เป็นรากฐานส� ำคัญของพระราชกรณียกิจต่อไปในฐานะ “พระผู้ทรงวางรากฐาน” ให้กับการบริหารราชการแผ่นดินและการพัฒนาศักยภาพของข้าราชการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=