สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พระเวทในสายตาแห่งพุทธปรั ชญา 82 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ซึ่งมีอายุสิบสองปี หากชายอายุยี่สิบสี่ปีอาจแต่งงานกับหญิงอายุแปดปี หากไม่แต่งงานแล้วจะท� ำให้การท� ำ หน้าที่ในทางศาสนาไม่ส� ำเร็จก็อาจให้แต่งงานได้ทันที ... บทสวดส� ำหรับพิธีแต่งงานมีไว้เพื่อสาวพรหมจารี และเพื่อรับรองความเป็นภรรยาอันชอบ พิธีแต่งงานจะสมบูรณ์เมื่อคู่บ่าวสาวก้าวไปรอบกองไฟศักดิ์สิทธิ์ ถึงเก้าที่เจ็ด ชายทวิชาติ (ชายวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ และวรรณะแพศย์) แต่งงานข้ามวรรณะได้ ยกเว้นแต่งงานกับหญิงวรรณะศูทร ดังข้อความว่า ชายทวิชาติพึงเลือกแต่งงานกับหญิงวรรณะเดียวกัน เป็นปฐม แต่หากชายใดโดยตัณหาเป็นเหตุได้หญิงวรรณะต�่ ำกว่าก็นับเป็นภรรยาได้ ชายทวิชาติแต่งงาน กับหญิงไร้วรรณะโดยความลุ่มหลงเป็นเหตุ ย่อมน� ำพาสกุลและลูกหลานไปสู่ภาวะเป็นศูทรโดยเร็ว เป็นแน่แท้ พราหมณ์เมื่อน� ำหญิงศูทรไปยังเตียงของตนย่อมก้าวไปสู่ทางต�่ ำ ยิ่งมีบุตรกับเธอเขาย่อมพ้น ภาวะเป็นพราหมณ์” ๑๖ ในทางกลับกันชายวรรณะต�่ ำย่อมถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกับหญิงวรรณะสูง โดยเฉพาะหญิงในวรรณะพราหมณ์ ๓. เรื่องกรรมและสังสาร ใน คัมภีร์อุปนิษัท ได้มีการอธิบายไว้บนพื้นฐาน คัมภีร์พระเวทว่า กรรม คือ ฤตะ ได้แก่ ความเป็นระเบียบแห่งสรรพสิ่งในสากลจักรวาลหรือในธรรมชาติ ดังนั้น กรรมจึง หมายถึง การท� ำพิธีการบูชายัญเพื่อก� ำหนดระเบียบความเป็นไปของจักรวาลให้เป็นไปอย่างสม�่ ำเสมอ ตามค� ำสอนในพระเวท โดยเฉพาะตอนที่ว่าด้วยมันตระและพราหมณะ เพราะเป็นตอนที่ว่าด้วย การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ (กรรมกัณฑ์) ดังนั้น เรื่องกรรมจึงหมายถึง การปฏิบัติหรือการด� ำเนินชีวิต ไปตามค� ำสอนในพระเวทหมวดที่ว่าด้วยมันตระ และหมวดที่ว่าด้วยพราหมณะและอาจรวมเอาหมวด ว่าด้วยอารัณยกะเข้าไปด้วย กรรมชั่ว ในคัมภีร์พระเวทหมายถืงการปฏิเสธพระเวท ปฏิเสธวรรณะและ หน้าที่ในวรรณะ การไม่บูชายัญเพื่อเทพเจ้า รวมทั้งการไม่ด� ำเนินชีวิตตามอาศรมทั้งสี่ เป็นต้น กรรมดี นั้นหมายถึงการปฏิบัติตนตามกฎในวรรณะ การศึกษาการท่องบ่นพระเวท การถ่ายทอดพระเวท การสวดมนตร์สรรเสริญเทพเจ้าต่าง ๆ  กระท� ำในการบูชายัญบวงสรวงสังเวยเทพเจ้า และการด� ำเนินชีวิต ตามอาศรม ๔ เป็นต้น อนึ่ง ใน คัมภีร์ภควัทคีตาบทที่ ๓ กล่าวถึงความส� ำคัญของกรรมที่น� ำไปสู่ความ หลุดพ้นหรือโมกษะไว้ ๒ ประการ คือ ๑) สวกรรม การท� ำตามหน้าที่ให้เหมาะสมกับวรรณะและอาศรม ของแต่ละบุคคล และ ๒) นิษกามกรรม การกระท� ำที่ไม่มีอุปาทานไม่ยึดมั่นหวังผล สอดคล้องกับ ปุรุษารถะ ๔ ประการ คือ ๑) ธรรมะ ศีลธรรม หรือความดี ๒) อรรถะ ความมั่งคั่ง ๓) กามะ ความ ปรารถนาหรือการครอบครอง และ ๔) โมกษะ ความหลุดพ้น จากอวิทยาความไม่รู้จักพรหมัน ๑๖ มนู. ๙.๙๘๘:๓.๑๒.๑๕-๑๗

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=