สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
เดื อน ค� ำดี 81 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ กษัตริย์จะไม่รุ่งเรืองถ้าปราศจากวรรณะพราหมณ์เช่นเดียวกัน วรรณะพราหมณ์จะไม่มีความเจริญ ถ้าปราศจากวรรณะกษัตริย์ แต่เมื่อใดวรรณะพราหมณ์และวรรณะกษัตริย์สามัคคีกัน ความเจริญย่อม อุบัติขึ้น ทั้งเมื่อนี้และเมื่อหน้า และในที่สุดแห่งหน้าที่ เมื่อได้ถวายทรัพย์อันได้จากค่าปรับไหมแก่พราหมณ์ และเวรราชสมบัติแก่พระโอรสแล้ว พระราชาพึงเสด็จสู่ความตายในสงคราม ๒.๓ วรรณะแพศย์ คือ วรรณะของคนส่วนใหญ่ของสังคมผู้ประกอบเกษตรกรรม พาณิชยกรรมและศิลปหัตถกรรมต่าง ๆ วรรณะแพศย์เกิดจากส่วนร่างกายของพระพรหมแม้จะอยู่ในพวก ทวิชาติเช่นเดียวกับพราหมณ์และกษัตริย์แต่พระปชาบดีหรือพระพรหมก็มอบหน้าที่ให้เป็นวรรณะพ่อค้า วานิช ดูแลปศุสัตว์ กระท� ำการกสิกรรม ดังข้อความใน มนูธรรมศาสตร์ ว่า “ไวศยะพึงรู้ค่าของรัตนชาติ มุก ปะการัง สินแร่ สิ่งทอ น�้ ำหอม และตัวยา ไวศยะพึงเข้าใจวิธีหว่านพืช รู้คุณภาพดิน และรู้จัก เครื่องตวงวัดอย่างถูกต้อง ไวศยะพึงรู้ใช้บริวาร รู้ภาษาต่าง ๆ ของมนุษย์ รู้วิธีรักษาผลิตภัณฑ์ และรู้วิธี ซื้อขายอย่าทะลุปรุโปร่ง” ดังนี้ ๒.๔ วรรณะศูทร คือ วรรณะที่เกิดจากเท้าของพระพรหม เป็นวรรณะของพวกกรรมกร ผู้ที่รับจ้างที่ต้องใช้แรงงานแบกหามหรือให้บริการแก่วรรณะอื่น ๆ ใน คัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ ก� ำหนดไว้ว่า “แม้จักเป็นอิสระจากนาย ศูทรก็หาได้เป็นอิสระจากการรับใช้ไม่ เพราะการรับใช้เป็นสิ่งอันติดตัวมา แต่ก� ำเนิด ผู้ใดจักน� ำออกไปจากตัวเขาได้เล่า” วรรณะศูทรไม่สามารถเรียนรู้พระเวทได้แม้จะเป็นคนฉลาด มาแต่ก� ำเนิดก็ไม่อาจได้รับการพัฒนา ดังนั้น ศูทรจะบริสุทธิ์ได้เมื่อเชื่อฟังวรรณะที่สูงกว่า พูดจาแต่น้อย ปราศจากการถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ และยอมอยู่ใต้วรรณะอื่นเสมอแล้วจึงได้ความสวัสดี ดังนั้น หน้าที่อันสูงสุดของวรรณะศูทรคือการรับใช้วรรณะพราหมณ์ เพราะค� ำสอนชี้น� ำว่า ศูทรไม่ว่าจะถูกซื้อมา แล้วหรือไม่ พราหมณ์อาจบังคับให้รับใช้ได้เสมอ ทั้งนี้เพราะศูทรนั้นพระพรหมสร้างมาเพื่อรับใช้ พราหมณ์ ซึ่งเป็นการรับใช้เพื่อสวรรค์และการยังชีพและเป็นหน้าที่อันประเสริฐสุดของศูทร ส่วนการสะสม ความมั่งคั่ง และการอ่านพระเวท ไม่ใช่หน้าที่ที่ศูทรจะท� ำได้ เพราะศูทรไม่มีสิทธิ์ในการมีทรัพย์สิน แม้บุคคลใดจักถือเอาของสองหรือสามอย่างจากบ้านของศูทรก็ท� ำได้ตามใจ เพราะในพระคัมภีร์กล่าวว่า ในการบูชายัญนั้น ศูทรไม่มีสิทธิ์ในการมีทรัพย์ เมื่อไร้ทรัพย์สมบัติหรือมีทรัพย์น้อยก็ถูกห้ามการท� ำบูชายัญ ดังข้อก� ำหนดว่า “การบูชายัญที่มีเครื่องบูชาน้อย ย่อมท� ำลายผู้บูชาทั้งประสาทสัมผัส ความเจริญ สวรรค์ อายุ ชื่อ บุตรบริวาร สัตว์เลี้ยง ดังนั้น ผู้มีทรัพย์น้อยไม่พึงบูชายัญ” วรรณะศูทรจึงถูกปิดกั้นทางไปสวรรค์ กฎการแต่งงาน ในคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ ว่าด้วยกฎการแต่งงานระหว่างวรรณะทั้งสี่ว่า “บุคคลพึงยกลูกสาวให้แต่งงานกับชายที่มาชอบพอ แม้เมื่อหญิงนั้นยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์ หากชายนั้น มีตระกูลสูง หน้าตาดี และอยู่ในวรรณะเดียวกัน เมื่ออายุได้สามสิบปีชายอาจแต่งงานกับหญิงที่ตนรัก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=