สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
พระเวทในสายตาแห่งพุทธปรั ชญา 80 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ในกาลทุกเมื่อที่กษัตริย์ท� ำการโอหังต่อพราหมณ์” และอีกตอนหนึ่งว่า “ไม่ว่าจะฉลาดหรือไม่ฉลาด พราหมณ์ก็คงสภาวะอันศักดิ์สิทธิ์ ดังไฟมีความศักดิ์สิทธิ์เสมอ ไม่ว่าจะใช้บูชายัญอยู่หรือไม่ก็ตาม” ใน ทีฆนิกายมหาวรรคพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ กล่าวว่า โสณพราหมณ์ตอบค� ำถามพระพุทธเจ้าที่ตรัสถามว่า พราหมณ์มีคุณสมบัติอย่างไร ตอบว่ามี ๕ อย่าง คือ ๑) มีชาติดีได้แก่เกิดจากบิดามารดาเป็นพราหมณ์ สืบสายมา ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ๒) ท่องจ� ำมนต์ในพระเวท ๓) มีรูปงาม ๔) มีศีล และ ๕) เป็นผู้เฉลียวฉลาด มีปัญญารอบรู้ในพระเวท เพราะถือก� ำเนิดจากอวัยวะเบื้องสูงของพระพรหมจึงเป็นก� ำเนิดสูงสุดมีอาชีพ ๖ อย่าง คือ การสั่งสอนพระเวท ปฏิบัติตามพระเวท บูชายัญเอง บูชายัญแทนผู้อื่น รับทาน และให้ทาน ๒.๒ วรรณะกษัตริย์ คือ วรรณะนักรบ ท� ำหน้าที่ปกครองและท� ำศึกสงครามขยายขอบเขต หรือป้องกันเขตแดนเวลาถูกข้าศึกภายนอกรุกราน วรรณะกษัตริย์เกิดจากพระพาหาหรือแขนของ พระพรหมใน มนูธรรมศาสตร์ ได้ก� ำหนดธรรมะหรือหน้าที่ของกษัตริย์ไว้ว่า “พระราชาพึงศึกษาไตรเพท จากผู้รู้ไตรเพทรู้ศาสตร์ว่าด้วยนโยบาย ตรรก และตัวตน ส่วนกิจการอื่น ๆ ทรงศึกษาจากประชาชน” เนื่องจากพระราชาทรงมีฐานะสูงส่งมีธรรมชาติเป็นทั้งเทพและมีองค์ประกอบความเป็นเทพอยู่ในพระองค์ และมีหน้าที่เป็นกฎแฝงอยู่ในพระองค์ ดังข้อความที่ว่า “มีหน้าที่ในการศึกสงคราม การรบปกป้องเขตแดน และกรุณาแก่ประชาชนในแว่นแคว้นของพระองค์” ใน คัมภีร์ภควัทคีตา กล่าวถึงลักษณะของกษัตริย์ไว้ ตอนหนึ่งว่า “กษัตริย์เมื่อพระองค์คือพระอัคนีและพระพายพระองค์คือพระอาทิตย์ และพระจันทร์คือ ราชาแห่งความยุติธรรม พระองค์คือท้าวกุเวร คือพระวรุณ คือพระเกรียงไกรแห่งอินทรเทพ แม้ทรง พระเยาว์ พระราชามิใช่ใครจักดูหมิ่นว่าเป็นปุถุชนเหตุเพราะพระองค์คือเทวอ� ำนาจ ที่อยู่ในมนุษยรูป พระราชาพึงยังความเจริญรุ่งเรืองและมีความประพฤติแห่ง อินทร อรรกะ วายุ ยม จันทร อัคนิ และ ปฤถิวิ องค์อินทรเทพประทานฝนแก่มนุษย์ตลอด ๔ เดือน แห่งฤดูฝน ฉันใด พระราชาพึงปฏิบัติกฎแห่ง อินทรโดยแผ่พระการุณยภาพแก่ประชาชนในแว่นแคว้นของพระองค์อย่างทั่วถึงเมื่อถูกท้ารบจากกษัตริย์ ที่เท่าเทียมกัน ที่มีอ� ำนาจมากกว่าหรือที่มีอ� ำนาจน้อยกว่าก็ตาม ต้องคุ้มครองพลเมืองของพระองค์ และ ต้องร� ำลึกถึงหน้าที่แห่งวรรณะกษัตริย์ ย่อมไม่หนีข้าศึก กษัตริย์มุ่งประหัตประหารกัน ต่อสู้อย่างสุดก� ำลัง โดยไม่ถอยหนี ย่อมไปสวรรค์ ทรงเป็นกลียุคเมื่อบรรทม เป็นทวาปรยุคเมื่อตื่นอยู่ เป็นเตรตรายุคเมื่อ ทรงปฏิบัติพระราชกิจ และทรงเป็นกฤตยุคเมื่อได้รับชัยชนะแก่ข้าศึก” ดังนี้ กษัตริย์แม้จะมีหน้าที่ส� ำคัญ ที่สุดในการปกครองแล้วยังจะต้องยกย่องและท� ำนุบ� ำรุงพราหมณ์เป็นหน้าที่ควบคู่ไปด้วย ดังข้อความว่า “พระราชาเมื่อทรงตื่นบรรทมแต่เช้าตรู่ พึงย� ำเกรงพราหมณ์ ผู้คงแก่เรียนในไตรเพททั้งสาม และพึงยึดถือ มติแห่งพราหมณ์โดยเคร่งครัด และพระองค์ต้องทรงยกย่องพราหมณ์ผู้รู้ไตรเพทและเป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะผู้ยกย่องผู้มีวัยวุฒินั้นแม้ปีศาจก็นับถือ” ข้อก� ำหนดในคัมภีร์พระเวทเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า วรรณะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=