สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เดื อน ค� ำดี 79 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ เกิดเป็นโลกต่าง  ๆ  ขึ้นมา” ๑๔ วรรณะทั้งสี่เป็นสิ่งติดตัวมาแต่ก� ำเนิด ในคัมภีร์ มนูธรรมศาสตร์ จึงอธิบายว่า เพื่อยังโลกให้เจริญ พระพรหม ทรงรังสฤษฎ์พราหมณ์ กษัตริย์ ไวศยะ และศูทรขึ้นจากพระโอษฐ์ พระพาหา พระเพลา และพระบาท พราหมณ์ กษัตริย์ และไวศยะเหล่านี้คือวรรณะทั้งสาม อันเป็นทวิชาติ ส่วนวรรณะที่ ๔ คือ ศูทร เป็นผู้เกิดครั้งเดียว และใน คัมภีร์ฤคเวท กล่าวถึงหน้าที่ของบุคคลในแต่วรรณะ ไว้ว่า “เพื่อจะรักษาสิ่งสร้างทั้งปวงพระผู้ทรงรัศมีอันรุ่งเรือง จึงให้มีหน้าที่เฉพาะแก่ผู้อุบัติขึ้นมาจาก พระโอษฐ์ พระพาหา พระเพลา และพระบาทนั้น พราหมณ์ทรงมีโองการให้สอน ศึกษา บูชายัญ และบูชา เพื่อคนเหล่าอื่น ให้และรับทาน ป้องกันประชาชน บริจาคทาน บูชายัญ ศึกษา และละความผูกพันจาก วัตถุแห่งผัสสะ เป็นต้น คือหน้าที่ของกษัตริย์ เลี้ยงปศุสัตว์ บริจาคทาน บูชายัญ ศึกษา ค้าขาย ออกเงินกู้ และท� ำกสิกรรม คือหน้าที่ของไวศยะ ท� ำหน้าที่ประการเดียวอันพระผู้เป็นเจ้าทรงมอบแก่ศูทรคือรับใช้ชน ทั้งสามพวกนั้นโดยเต็มอกเต็มใจ” ๑๕ ซึ่งอาจขยายความได้ดังนี้ ๒.๑ วรรณะพราหมณ์ คือ พวกท� ำหน้าที่ศึกษา ทรงจ� ำ และสืบต่อคัมภีร์พระเวท เป็น ผู้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาส� ำหรับวรรณะอื่น ๆ ทุกวรรณะ วรรณะพราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์ของ พระพรหม วรรณะพราหมณ์เป็นวรรณะที่มีเอกสิทธิ์ ได้รับการยกย่องสูงสุดว่าเป็นวรรณะที่ประเสริฐและ ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในวรรณะทั้งหมด ในคัมภีร์ มนูธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ส่วนที่ถือว่าบริสุทธิ์กว่าแห่งมนุษย์ได้แก่ ส่วนเหนือสะดือขึ้นไป ดังนั้น พระผู้ทรงมีสภาวะเองย่อมตรัสว่า ส่วนอันบริสุทธิ์ที่สุดแห่งมนุษย์คือปาก โดยเหตุที่อุบัติขึ้นจากส่วนอันดีเลิศ โดยเหตุที่อุบัติขึ้นก่อนโดยเหตุที่เป็นผู้ทรงพระเวท พราหมณ์จึงนับว่า มีสิทธิ์เป็นนายของสิ่งสร้างทั้งปวง การอุบัติขึ้นแห่งพราหมณ์คือการอุบัติอันนิรันดรแห่งธรรมะ เหตุเพราะ พราหมณ์มีอยู่ก็เพื่อธรรมะ และเพื่อความคงอยู่แห่งพระเวท พราหมณ์อุบัติขึ้นสูงกว่าโลก เป็นนายของสิ่ง ทั้งปวงเป็นผู้รักษาสมบัติคือธรรมะ เหตุนั้นสิ่งทั้งปวงในจักรวาลจึงเป็นสมบัติของพราหมณ์ เพราะ พราหมณ์ชื่อว่ามีสิทธิ์เหนือสิ่งทั้งปวงเหล่านี้โดยฐานะและการเกิดอันสูงส่ง พราหมณ์จึงเป็นผู้กินของ ของตนเอง สวมใส่ของของตนเอง และให้ของของตนเอง โดยอาศัยความกรุณาแห่งพราหมณ์ คนเหล่าอื่น จึงมีความรื่นเริง” และใน มนูธรรมศาสตร์ นั่นเองได้แสดงให้เห็นว่า วรรณะพราหมณ์ประเสริฐกว่าวรรณะ อื่นทั้งหมด แม้วรรณะกษัตริย์ก็ไม่อาจที่จะท� ำให้พราหมณ์โกรธเคืองได้ เพราะพราหมณ์เป็นวรรณะสูง เกิดจากลมปากของพระพรหมโดยก� ำเนิด ดังข้อความว่า “แม้ตกอยู่ในความเดือดร้อนแสนสาหัส พระราชา ก็ไม่พึงท� ำให้พราหมณ์โกรธ เพราะเมื่อพราหมณ์โกรธแล้วย่อมจะท� ำลายพระราชาได้ด้วยบริวาร ก� ำลัง และอุปกรณ์ทั้งหลาย เนื่องจากกษัตริย์อุบัติขึ้นจากพราหมณ์ พราหมณ์เท่านั้นที่ควรอยู่เหนือกษัตริย์ ๑๔ ฤคเวท.๑๐.๙๐ ๑๕ ฤคเวท.๑๐.๙๐ ๑๒

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=