สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พระเวทในสายตาแห่งพุทธปรั ชญา 76 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ความสุขสูงสุดเป็นนิรามิสสสุข (bliss) เพราะพรหมัน เป็นตัวความสุข ผู้ที่พระองค์ทรงเลือกแล้วทั้งหมด เสวยสุขในพระองค์ และพระองค์ให้พรแก่สรรพสัตว์ เดิมทีเดียว พรหมัน หมายถึง บทสวดและการบูชายัญหรือยัญพิธี ต่อมาความหมายเปลี่ยนไป กลายเป็นผู้สวดสรรเสริญเทพเจ้า แต่ในที่สุดก็หมายถึงความเป็นจริงสูงสุด หรืออันติมสัจ ซึ่งได้วิวัฒนาการ ออกมาเป็นโลกและชีวิตรวมทั้งสรรพสิ่งในจักรวาล ดังนั้น ในปัจจุบันค� ำว่า พรหมัน จึงมีหมายถึงสิ่งที่ เป็นมูลการณะของสรรพสิ่ง ซึ่งใน คัมภีร์อุปนิษัท ได้แสดงถึงวิวัฒนาการแห่งธาตุต่าง ๆ ไว้ว่า “จากพรหมัน เกิดเป็นอากาศ (Ether) จากอากาศเกิดมีลม จากลมเกิดมีไฟ เกิดมีน�้ ำ จากน�้ ำเกิดมีดิน และจากดิน เกิดมีพืชพรรณธัญญาหารต่าง ๆ และอีกทฤษฎีหนึ่ง ที่เรียกว่า โกศะ อธิบายวิวัฒนาการ ๕ ชั้นของ พรหมันว่า ชั้นที่ ๑ เป็นร่างกายหรือวัตถุ (อันนมยโกศะ) ชั้นที่ ๒ เป็นชีวิตหรือลมปราณ (ปราณมยโกศะ) ชั้นที่ ๓ เป็นจิต (มโนมยโกศะ) ชั้นที่ ๔ เป็นสัมปชัญญะ (วิชญาณมยโกศะ) และชั้นที่ ๕ เป็นนิรมิสสสุข (อานันทมยโกศะ) ๘ ซึ่งเป็นที่ดับสูญไปแห่งไตรภาวะ คือ ผู้รู้ สิ่งที่ถูกรับรู้ และไม่มีทั้งทวิภาวะ (duality) ของจิตและวัตถุ และของพหุภาวะ (Plurality) ของสรรพสิ่ง คงมีแต่ความเป็นเอกภาพหรือความเป็นหนึ่ง (unity) อันไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น ภาวะแห่งอานันทมยโกศะนี้ ก็คือภาวะแห่งพรหมันหรือพระพรหม นั่นเอง ต่อมาภายหลัง พระพรหม ได้พัฒนาออกเป็นเทพเจ้า ๓ องค์ คือ พระพรหม พระวิษณุ และ พระศิวะ รวมเรียกว่า ตรีมูรติ มีค� ำอธิบายว่า ที่เรียกว่า พระพรหม เพราะสร้างโลกทั้งปวง ที่เรียกว่า วิษณุ ก็เพราะทรงแผ่อยู่ทั่วไป ที่เรียกว่า ศิวะ เพราะทรงให้รางวัลแก่ผู้ท� ำความดี การบูชาเทพเจ้า ส่วนการบูชายัญและสรรเสริญเทพเจ้าในพิธีต่าง ๆ นั้น มีข้อความบางตอน ในพระเวทที่อาจแสดงไว้ ดังเช่น ค� ำสวดสรรเสริญอัคนีเทพ เทพเจ้าแห่งไฟ อินทระ เทพเจ้าแห่งสงคราม ทั้งนี้เนื่องจากพวกอารยันเชื่อว่า อัคนีเทพมี ๓ รูป คือ ในโลกมีรูปเป็นไฟ ในบรรยากาศมีรูปเป็น แสงสว่างและในสวรรค์มีรูปเป็นดวงอาทิตย์ ดังนั้นหน้าที่ของอัคนีเทพในฐานะที่เป็นไฟส� ำหรับบูชายัญ ของพราหมณ์ จึงท� ำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้าต่าง  ๆ ในสรวงสวรรค์ ทรงถือเอา สิ่งของที่พราหมณ์เทลงในไฟเพื่อถวายเทพเจ้า มีคุณอเนกอนันต์แก่มนุษย์ เพราะให้ทั้งแสงสว่างและ ความอบอุ่นแก่โลกทรงเป็นเทพที่น� ำยัญกรรมไปสู่พระสุพรรณไวกูณฐ์จึงได้กล่าวสรรเสริญว่า “ที่เรียก พระองค์ว่า อัคนี เพราะพระองค์ทรงรุ่งเรืองสว่างใสในพระองค์ ที่เรียกว่า มนู เพราะพระองค์มีความรู้ อย่างมนุษย์ที่เรียกว่า อินทรา เพราะทรงปกป้องสรรพสัตว์และทรงเป็นเจ้าแห่งเจ้าทั้งปวง ที่เรียกว่า ปราณ เพราะพระองค์ทรงเป็นบ่อเกิดของชีวิตทุกชีวิต และที่เรียกว่า พรหมัน เพราะพระองค์ทรงเป็นหลักแผ่ ทั่วไปในสกลจักรวาล” ๙ ๘ ไตตริยอุปนิษัท ๒.๑.๖ ๙ มนู.๑.๒๘

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=