สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เดื อน ค� ำดี 75 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ มนุษย์จึงมีชีวิตอยู่ได้ และเพราะมุ่งปีติสุขมวลมนุษย์จึงกลับมา” ๕ และอีกตอนหนึ่งในคัมภีร์อุปนิษัท ก็กล่าวว่า เป็นอัตตาที่ปราศจากบาป “ขณะนี้อัตตาเป็นสะพาน เป็นเขตแบ่งแยกโลกไปอีกส่วนหนึ่งเป็น วันและคืน แม้ความแก่ ความตาย ความทุกข์ กุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม ไม่สามารถผ่านสะพานนั้น ไปได้ เนื่องจากโลกแห่งพรหมันเป็นแดนที่ปราศจากบาป ดังนั้น บาปทั้งปวงจึงล่าถอยออกจากโลกแห่ง พรหมัน” ๖ ใน คัมภีร์อุปนิษัท ตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่าผู้รู้จักพรหมมันแล้วจะได้รับพลังอยู่เหนือการเกิดตายว่า “ผู้รู้จัก พรหมัน จะเป็นอิสระหมดสิ้นแห่งกองทุกข์ ปราศจากการเกิดและความตาย เมื่อเขาได้มารวมอยู่ ในพระผู้เป็นเจ้าเขาจะอยู่ในสภาวะเหนือสภาวะของโลกที่เป็นรูปกายอันเป็นโลกที่สาม ซึ่งเป็นโลกแห่ง พระผู้เป็นเจ้า เป็นสถานที่ที่เป็นพลังของพระผู้เป็นเจ้าและเขาจะได้รับพลังจากพระผู้เป็นเจ้า เพราะเขา ได้เข้ามารวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระผู้เป็นเจ้า” ๗ จากข้อความที่ยกมานี้แสดงให้เห็นว่า คัมภีร์พระเวท สอนว่ามีอัตตาสูงสุดคือพรหมัน (God) ในเชิงวัตถุวิสัยแสดงตนออกมาเป็นเทพเจ้าและสรรพสิ่ง ในจักรวาลทั้งมวล ดังนั้น พรหมมันจึงเป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่งรวมทั้งโลกและชีวิต และรวมทั้งเทพเจ้า ทั้งปวงในเชิงอัตวิสัย คัมภีร์พระเวท กล่าวถึงเทพเจ้าในลักษณะที่เป็นพหุนิยม ประจ� ำธรรมชาติต่าง ๆ และว่าด้วยวิวัฒนาการของเทพเจ้าจากพหุนิยมเป็นเอกเทวนิยม (monotheism) ตามล� ำดับ คือ จาก พระปชาบดีหรือพระพรหม มีลักษณะเป็นเอกนิยม (Monism) พัฒนาการในเชิงปรัชญาเป็นการอธิบาย ให้เห็นสรรพสิ่งรวมเป็นหนึ่งเดียวกันในเทพเจ้า เป็นตอนสุดท้าย ซึ่งว่าด้วยเทพเจ้าที่เรียกว่า พระพรหม ทรงแทรกซึมอยู่ในทุกสิ่ง พระองค์เดียวที่เรียกว่า “โอม” และเป็นอมตะ ที่ต้องกราบไหว้บูชาเป็น นิตยนิรันดร ใน คัมภีร์อุปนิษัท นั้นเองกล่าวว่า พรหมัน-อาตมัน คือ อันติมสัจ ความเป็นจริงสูงสุด (Ultimate Reality) เป็นสิ่งเดียวกันแต่มองจากแง่ที่ต่างกัน กล่าวคือมองจากแง่วัตถุวิสัยหรือในฐานะ สิ่งที่ถูกรู้เรียกว่า พรหมัน มองในแง่อัตวิสัยหรือในฐานะผู้รู้ เรียกว่า อาตมัน ค� ำทั้งสองนี้หมายถึง สิ่งเดียวกัน คือความเป็นจริงสูงสุด ได้แก่ พรหมัน ซึ่งส� ำแดงตนออกมาเป็นผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้ ใน ขณะเดียวกันก็อยู่เหนือทั้ง ๒ อย่าง ดังค� ำว่า “ตัต ตวัม อสิ” แปลว่า “ท่าน คือพรหมัน” และค� ำว่า “สัต จิต อานันทะ” ซึ่งอธิบายว่า ๑) สัต แสดงให้เห็นภววิสัย (Existence) ของพรหมันว่า ภาวะมีอยู่ นิรันดร เพราะพระองค์ ทรงมีอยู่ตลอดไป และไม่มีกาลทั้งสาม คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ขัดขวางได้ ๒) จิต มีอยู่ในฐานะเป็นจิตบริสุทธิ์ (pure consciousness) เพราะพระองค์ทรงมีปัญญาสุดยอด ให้ปัญญา แก่วิญญาณทั้งปวง และท� ำให้วิญญาณเหล่านั้นแยกความจริงจากความไม่จริงได้ และ ๓) อานันทะ ๕ ไตติริยาอุปนิษัท ๑๑.๑-๖ ๖ จัณโฑกิยะอุปนิษัท, V111.4,7 ๗ เศวตตฉัตรอุปนิษัท, ๑.๑๑

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=